TISCO ESU Morning View ประจำวันที่ 19 ก.ย. 66
Summary
  • ตลาด: นักเก็งกำไรยังคงขายสุทธิสัญญาค่าเงินยูโรต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 เป็นจำนวนค่อนข้างมาก ก่อนการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 14 ก.ย. ที่ผ่านมา  

Today’s Data Releases
  • ยูโรโซน: ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CPI) เดือน ส.ค.
  • สหรัฐฯ: ยอดก่อสร้างบ้านใหม่ (Housing Starts) และยอดขอรับอนุญาตก่อสร้าง (Building Permits) เดือน ส.ค.

Upcoming Events
  • (19-20 ก.ย.) คาด Fed จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Federal funds rate) ไว้ที่ 5.25-5.50% ซึ่งเรามองในกรณีฐาน (Baseline) ว่าเป็นระดับสูงสุด (Terminal rate) แล้ว หลังตัวเลขการจ้างงานแผ่วลงมากและเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นในอัตราต่ำ MoM ต่อเนื่องในเดือน ก.ค. อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อที่ยังสูงกว่าเป้าที่ 2% ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจที่ยังออกมาค่อนข้างดี อาทิ ยอดค้าปลีก นับเป็นความเสี่ยงทำที่ทำให้ Fed มีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดอย่างมากต่อเนื่อง โดยการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงในปัจจุบันเป็นระยะเวลานาน หรืออาจตัดสินใจปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพิ่มเติมได้ (Dot plot ล่าสุดเดือน มิ.ย.ชี้ Fed อาจปรับดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้ง +25bps) ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญอย่างเงินเฟ้อและตัวเลขการจ้างงานในระยะข้างหน้า
  • (21 ก.ย.) คาด BoE จะปรับดอกเบี้ยขึ้นอีก +25bps สู่ระดับ 5.50% ท่ามกลางเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังทรงตัวในระดับสูง (+6.8% YoY เดือน ก.ค.) และค่าจ้างแรงงาน (ไม่รวมโบนัส) ที่ยังเร่งตัวขึ้น (+7.8% ในเดือน มิ.ย. vs. +7.5% เดือน พ.ค.) ขณะที่ GDP ไตรมาส 2 ออกมาดีกว่าคาด (+0.2% QoQ vs. BoE คาดที่ +0.1% และตลาดคาดที่ +0.0%)

  • (21-22 ก.ย.) คาด BoJ จะคงการดำเนินนโยบายการเงินเดิมทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control  ต่อไป เนื่องจาก BoJ จะยังคงรอดูพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญดังต่อไปนี้ 1) เงินเฟ้อ Core CPI (ไม่นับรวมราคาอาหารสด) ที่คาดว่าจะชะลอตัวลงในไตรมาส 3 เเละ 4 โดยตลาดคาดว่าจะชะลอตัวลงเป็น 3.0% YoY เเละ 2.5% ตามลำดับ เเละ 2) ตัวเลขค่าจ้างรายเดือน (Cash Earnings) โดยตัวเลขล่าสุดเดือน ก.ค. ชะลอตัวลงเป็น 1.3% YoY จาก 2.3% ในเดือน มิ.ย. เเละยังคงขยายตัวตํ่ากว่าระดับ 3% ที่เป็นเป้าหมายของนาย Kuroda อดีตผู้ว่าฯ BoJ ที่เคยระบุไว้ว่าเป็นระดับที่ทำให้เงินเฟ้อจะสามารถไปสู่เป้าหมายที่ 2% ได้อย่างยั่งยืน  

  • (27 ก.ย.) คาด BoT จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.25% เพื่อรอประเมินพัฒนาการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไปก่อน (Wait-and-see approach) แม้ว่าจะยังไม่ได้ส่งสัญญาณการหยุดปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติม ซึ่งในกรณี Upside เรามองว่าอาจมีการปรับขึ้นอีกเพียง +25bps สู่ระดับ 2.50% จากความกังวลของ กนง. ในเรื่องของเสถียรภาพของระบบการเงิน (อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงที่ติดลบ) อิงจากประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อล่าสุดของ BoT ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคการส่งออกที่น่าจะช้ากว่าที่ BoT ได้ประเมินไว้ (ระบุไว้ใน Post meeting ของการประชุมวันที่ 2 ส.ค.) และตัวเลข GDP ไตรมาสสองที่ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด น่าจะส่งผลให้น้ำหนักการคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ก.ย. มีเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มที่ BoT จะหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงจากปัจจุบันที่คาดที่ 3.6% 

  • (เดือน ก.ย.) ติดตามการอนุมัติงบประมาณประจำปี FY2024 ของสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด Government shutdown ก่อนที่จะเข้าสู่ปีงบประมาณใหม่ในวันที่ 1 ต.ค. 2023 ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งทางฝ่าย Republicans ต้องการปรับลดค่าใช้จ่ายลงเพิ่มเติม รวมทั้งในประเด็นเม็ดเงินอุดหนุนให้แก่ทางยูเครนในสถานการณ์สงครามที่ยังยืดเยื้อ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TISCO Contact Center 0 2633 6000 กด 4 , 0 2080 6000 กด 4
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน

รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือโดยทางอื่นใด ทิสโก้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่ผู้เดียว