/
/
/
5 เหตุผลที่นักลงทุนยังคงกังวลถึงแม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ บวกแรงในครึ่งปีแรก

5 เหตุผลที่นักลงทุนยังคงกังวลถึงแม้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ บวกแรงในครึ่งปีแรก

     ในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ สามารถกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างโดดเด่น โดยดัชนี S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง +15.9% ซึ่งมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ส่วนดัชนี Nasdaq ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง +31.7% มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1983 เป็นต้นมา อย่างไรก็ดีดูเหมือนในช่วงที่เหลือของปี ยังคงมีปัจจัยกดดันที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกยังคงระมัดระวัง และทำให้นักลงทุนยังคงมีความกังวลถึงแม้ตลาดจะปรับเพิ่มขึ้นได้ดีในครึ่งปีแรกก็ตาม และนี่คือ 5 เหตุผลที่ถือเป็นความกังวลสำคัญในช่วงที่เหลือของปี

1.ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอาจจะยังคงออกมาไม่ดี

     ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนของสหรัฐฯในไตรมาสที่ 2 ของปี ที่จะประกาศออกมาในช่วงตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมจนถึงช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ จากข้อมูลที่จัดทำโดย Factset คาดว่าจะออกมาหดตัวถึงราว -7.2% ซึ่งจะถือเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกันที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี S&P500 ออกมาหดตัว โดยอัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin) คาดว่าจะยังคงปรับลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ระดับ 11.4% โดยต่ำกว่าระดับสูงสุดเมื่อปี 2021 ที่ 13%

2.ส่วนต่างของ Bond yield 2 ปี กับ 10 ปี เพิ่มมากขึ้น

     สัญญาณที่นักลงทุนจับตาและมักเป็นการบ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ตามมาคือภาวะ Inverted yield curve หรือการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 2 ปี มากกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ซึ่งภาวะ Inverted yield curve ได้เกิดขึ้นมาแล้วยาวนานกว่า 1 ปี แต่ส่วนต่างระหว่าง Bond yield 2 ปี กับ 10 ปี ยิ่งห่างกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยในช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ส่วนต่างสูงถึง 1.08% ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา ถือเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯยากหลีกเลี่ยงต่อภาวะถดถอยได้

3.ภาพรวมตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลกยังไม่ดีมากนัก

     ถึงแมว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะปรับเพิ่มขึ้นได้ดีในช่วงครึ่งปีแรก แต่หากมองไปยังตลาดหุ้นอีกหลายแห่งทั่วโลกนั้นยังมีผลตอบแทนที่ไม่ดีนักในช่วงครึ่งปีแรก โดยเฉพาะตลาดหุ้นจีนที่ดัชนี HSCEI Index (หุ้นจีน H-Shares) จะปรับตัวลดลงถึงราว -6% ส่วนตลาดหุ้นยุโรป (ดัชนี Euro Stoxx 600) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วงครึ่งปีแรก +14% ก็เริ่มปรับตัวลดลงเมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งปีหลัง โดยภาพรวมของเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้ในอัตราที่ชะลอลง ส่วนเศรษฐกิจยุโรปยังคงต้องเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง ซึ่งถึงแม้เศรษฐกิจยุโรปอาจหลีกเลี่ยงจากการเกิดภาวะถดถอยได้ แต่ก็เติบโตได้ในอัตราที่ต่ำมากในปีนี้

4.ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยสูงยังคงมีออกมาเรื่อย ๆ

     ผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางทั่วโลกเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อยังน่าจะมีออกมาอีกในช่วงเวลาต่อจากนี้ หลังจากที่การล่มสลายของ Silicon Valley Bank เป็นเพียงแค่ปัญหาแรกที่แสดงออกมาให้เห็น โดยผลสำรวจจาก Deutshce Bank ระบุว่านักลงทุนส่วนใหญ่ยังมองว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงจะทำให้เกิดปัญหาต่อตลาดการเงินโลก และมีบางส่วนที่มองว่าดอกเบี้ยสูงอาจนำมาซึ่งปัญหาร้ายแรงในภาคการเงินได้

5.สัดส่วนการถือครองหุ้นสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ

     ข้อมูลจาก JPMorgan Data Asset & Alpha Group ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจาก นักลงทุนหลายประเภทในสหรัฐฯ อาทิ นักลงทุนรายย่อย , กองทุนรวม , Hedge Funds และ ตลาด Option ระบุว่าสัดส่วนการถือครองหุ้นสหรัฐฯ ณ ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ก.ค. 2023) เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 18 เดือน โดยเฉพาะหุ้น 8 ตัวขนาดใหญ่ คือ Apple , Microsoft , Amazon , Meta , Netflix , Alphabet , Tesla และ Nvidia ที่ปัจจุบันเป็นสัดส่วนกว่า 30% ของดัชนี ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นแรงนับตั้งแต่ต้นปีแทบจะทุกบริษัท โดยนักวิเคราะห์จาก JPMorgan เชื่อว่า ปัจจุบันตลาดกำลังอยู่ในภาวะ FOMO (fear of missing out)

     อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าตลาดหุ้นดูจะมีแต่ปัจจัยที่น่ากังวล แต่หากดูจากข้อมูลในเชิงปริมาณผ่านสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 1950-ปัจจุบัน พบว่าในปีที่ดัชนี S&P500 ปรับเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 10% ในช่วงครึ่งปีแรก ตลาดมักจะสร้างผลตอบแทนได้ดีในอีก 6 เดือนต่อมา โดยมีโอกาสที่ผลตอบแทนเป็นบวกอยู่ที่ 81.8% และสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 7.7% ในช่วงอีก 6 เดือนที่เหลือของปี

     ดังนั้นแม้จะยังมีหลายปัจจัยที่น่ากังวลในช่วงครึ่งปีหลังแต่ไม่ได้หมายความว่าตลาดจะย่ำแย่ถึงขั้นควรหลีกเลี่ยงการลงทุน เพียงแต่การลงทุนด้วยการเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นและกระจายความเสี่ยงน่าจะยังเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดและนำมาใช้ได้ในช่วงที่เวลาที่เหลือของปี

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TISCO Contact Center 0 2633 6000 กด 4 , 0 2080 6000 กด 4
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน

รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือโดยทางอื่นใด ทิสโก้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่ผู้เดียว

Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก