/
/
/
/
ตลาดหุ้นเป็นอย่างไรในภาวะสงคราม

ตลาดหุ้นเป็นอย่างไรในภาวะสงคราม

     หลังจากเกิดเหตุการณ์กลุ่มฮามาสบุกโจมติอิสราเอลในแบบที่ไม่มีใครคาดคิดเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้สร้างความกังวลให้เกิดขึ้นกับนักลงทุนทั่วโลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นทั่วโลกก็ได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาก่อนแล้ว หลังจากผลการประชุม Fed ในเดือนกันยายนที่คณะกรรมการ Fed ส่งสัญญาณว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงไว้นานกว่าที่คาด

     อย่างไรก็ดีหลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกซึมซับข่าวสงครามที่เกิดขึ้นและเปิดทำการตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับไม่ได้ตอบรับในเชิงลบมากนัก โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4 วันทำการติดต่อกัน ต่อเนื่องตั้งแต่คืนวันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม (ก่อนหน้าที่จะเกิดสงคราม) จนถึงวันพุธที่ 11 ตุลาคม โดยปรับตัวเพิ่มขึ้น +2.78% ด้านตลาดหุ้นยุโรปดัชนี Euro Stoxx 50 ปรับตัวเพิ่มขึ้น +1.36% ในระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ตลาดหุ้นจีนและญี่ปุ่นก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 3 วันทำการแรกของสัปดาห์เช่นเดียวกัน โดยดัชนี HSCEI ปรับตัวเพิ่มขึ้น +2.78% และ ดัชนี Nikkei225 ปรับตัวเพิ่มขึ้น +2.92%

     นอกจากนี้สถานการณ์สู้รบที่เกิดขึ้น ยังส่งผลให้นักลงทุนเข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยทั้งทองคำและพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับลดลง (บวกกับความเห็นของคณะกรรมการ Fed หลายคนที่ออกมาให้ความเห็นในโทน Hawkish ลดลง) ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหนุนให้ตลาดหุ้นสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในสัปดาห์นี้

     สำหรับเหตุการณ์หลังจากนี้จะส่งผลต่อตลาดหุ้นมากน้อยแค่ไหน คงขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ว่าจะลุกลามบานปลายไปมากกว่านี้หรือไม่ โดยเฉพาะความเชื่อมโยงการโจมตีในครั้งนี้กับประเทศอิหร่าน และการเข้ามามีส่วนรวมกับสงครามของชาติอื่น ๆ ที่เป็นพันธมิตรกับทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์

     ซึ่งหากศึกษาจากข้อมูลสถิติที่เกิดขึ้นในอดีต เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงจากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศขึ้น ก็จะพบว่าตลาดหุ้นจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วหรือติดลบไม่มากนักเมื่อสถานการณ์ไม่ได้รุนแรงมากและสถานการณ์สามารถคลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว

     โดยข้อมูลสถิติที่เก็บมาตั้งแต่เหตุการณ์โจมตี Pearl Harbor ในปี 1941 จนถึง สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนในปี 2022 ต่อความเคลื่อนไหวของดัชนี S&P500 พบว่าค่าเฉลี่ยของการปรับลงใน 1 วันอยู่ที่ราว -1.1%, ค่าเฉลี่ยของการปรับลดลงจากจุดสูงสุดสู่จุดต่ำสุดอยู่ที่ -4.7% โดยใช้เวลาเฉลี่ยในการปรับลงจากจุดสูงสุดสู่จุดต่ำสุดที่ราว 19.4 วัน และ ใช้เวลาในการฟื้นตัวกลับมาเฉลี่ยอยู่ที่ 42.3 วัน ซึ่งจากทั้งหมด 24 เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วง 82 ปีที่ผ่านมา มีทั้งหมด 4 เหตุการณ์ที่ตลาดปรับลงจากจุดสูงสุดมาจุดต่ำสุดเกินกว่า 10% คือเหตุการณ์ โจมตี Pearl Harbor (-19.8%), เหตุการณ์สงครามเกาหลี (-12.9%), เหตุการณ์อิรักบุกคูเวต (-16.9%) และ เหตุการณ์ก่อการร้าย 911  (-11.6%)

     อย่างไรก็ดีผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตลาดหุ้นจากแต่ละเหตุการณ์ต่างก็มีปัจจัยเฉพาะตัว และปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นในช่วงเวลานั้น ๆ

     โดย ณ  ปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นคือ ท่าทีของ Fed ต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี ซี่งจะส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ, การประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนที่ในไตรมาส 3 คาดว่าน่าจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ดี

     ซึ่งหากประเมินจากสถานการณ์ในปัจจุบันและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ สามารถคาดการณ์ได้ว่าสงครามในครั้งนี้อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อตลาดหุ้นมากนัก และยังมีโอกาสที่ตลาดหุ้นจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วงเวลาที่เหลือของปี

ที่มา : LPL Research, Bloomberg, Factset, S&P Dow Jones Indices, CFRA, Strategas as of 9 Oct 2023

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TISCO Contact Center 0 2633 6000 กด 4 , 0 2080 6000 กด 4
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน

รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือโดยทางอื่นใด ทิสโก้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่ผู้เดียว

Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก