/
/
/
/
TISCO ESU Morning View ประจำวันที่ 18 ม.ค. 67
TISCO ESU Morning View ประจำวันที่ 18 ม.ค. 67
Summary
- (19 ม.ค.) ติดตามการเจรจาของวุฒิสมาชิกและสภาผู้แทนราษฏรระหว่างทั้งสองพรรคในการบรรลุข้อตกลงทางการคลังเพื่อหลีกเลี่ยง Government Shutdown ที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 19 ม.ค. สำหรับวงเงินเกี่ยวกับการช่วยเหลือทหารผ่านศึกและบริการความปลอดภัยด้านอาหารและยา (ประมาณ 20% ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด) ขณะที่วงเงินอื่นๆ อาทิ กลาโหม, พาณิชย์ และอื่นๆ (ราว 80% ของงบประมาณทั้งหมด) จะครบกำหนดที่เคยได้รับการอนุมัติให้ยืดเวลาชั่วคราวออกไปจนถึงวันที่ 2 ก.พ. 2024
- (22-23 ม.ค.) ติดตามการประชุมของ BoJ ที่จะมีการออกประมาณการเงินเฟ้อและเศรษฐกิจชุดใหม่ที่จะเป็นการส่งสัญญาณถึงการดำเนินนโยบายการเงินสำหรับปี 2024 โดยเรามองว่า BoJ จะยังคงการดำเนินนโยบบายการเงินทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control เพื่อรอดูพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ รวมถึงการรอความชัดเจนของการปรับตัวขึ้นของค่าจ้าง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเงินเฟ้อจะสามารถบรรลุเป้าหมายของ BoJ ที่ 2% ได้อย่างยั่งยืน
- (25 ม.ค.) คาดว่า ECB จะยังมีท่าทีแข็งกร้าวและเข้มงวด เช่นเดียวกับการประชุมในครั้งก่อน และจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Deposit Facility Rate) เอาไว้ที่ 4.00% ตามเดิม ขณะเดียวกัน เรามองว่า ECB จะเริ่มมีการพิจารณาอย่างเปิดเผยมากขึ้น ถึงแผนการที่จะทำ QT ให้เร็วขึ้น เพื่อรักษาระดับความเข้มงวดของสภาวะการเงินในยุโรปหากมีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป โดยเราคาดว่า ECB มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยราว 100bps ในปี 2024F (ครั้งละ 25bps)
- (30-31 ม.ค.) คาด Fed มีแนวโน้มที่จะกลับมาแสดงท่าที Hawkish มากขึ้น หลังดัชนีภาวะการเงิน (Financial Condition Index) กลับมาผ่อนคลายแตะระดับ 0.6 จุด ซึ่งเป็นระดับที่เคยกระตุ้นให้ Fed มีท่าที Hawkish เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่ง Fed มีโอกาสที่จะส่งสัญญาณว่าตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ต้องลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ และให้ติดตามพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อไป ขณะเดียวกัน เรามองว่า Fed จะพยายามคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเอาไว้ให้นานที่สุด ก่อนจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วง 2H24F ไม่น้อยกว่า 50bps ซึ่งจากมุมมองของตลาดที่คาดราว -125bps อาจมีความแข็งกร้าวเกินไป ทำให้ในระยะสั้น US10Y Yield มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้
- (เดือน ม.ค.) ติดตามความคืบหน้าของการยื่นเสนอร่างฯ พ.ร.บ. เงินกู้ 5 แสนล้านบาทสำหรับโครงการ Digital Wallet ซึ่งเรามองว่ามาตรการดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ โดยประเด็นเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนอาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้มีการยื่นเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้
- (เดือน ม.ค.) IMF จะมีการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าประมาณการเศรษฐกิจอาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะจากครั้งก่อน (เดือน ต.ค. คาดเศรษฐกิจโลกโต 3.0% ในปี 2023F และ 2.9% ในปี 2024F จากระดับ 3.5% ในปี 2022) อย่างไรก็ดี คาดว่า IMF จะยังคงกังวลต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศหลัก หลังมีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดอย่างมาก, ความสามารถในการชำระหนี้จากภาระหนี้และดอกเบี้ยที่สูง, ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TISCO Contact Center 0 2633 6000 กด 4 , 0 2080 6000 กด 4
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน
รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือโดยทางอื่นใด ทิสโก้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่ผู้เดียว
- สหรัฐฯ: ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) สิ้นสุดสัปดาห์ ณ วันที่ 13 ม.ค. และยอดก่อสร้างบ้านใหม่ (Housing Starts) เดือน ธ.ค.
Upcoming Events
- (19 ม.ค.) ติดตามการเจรจาของวุฒิสมาชิกและสภาผู้แทนราษฏรระหว่างทั้งสองพรรคในการบรรลุข้อตกลงทางการคลังเพื่อหลีกเลี่ยง Government Shutdown ที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 19 ม.ค. สำหรับวงเงินเกี่ยวกับการช่วยเหลือทหารผ่านศึกและบริการความปลอดภัยด้านอาหารและยา (ประมาณ 20% ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด) ขณะที่วงเงินอื่นๆ อาทิ กลาโหม, พาณิชย์ และอื่นๆ (ราว 80% ของงบประมาณทั้งหมด) จะครบกำหนดที่เคยได้รับการอนุมัติให้ยืดเวลาชั่วคราวออกไปจนถึงวันที่ 2 ก.พ. 2024
- (22-23 ม.ค.) ติดตามการประชุมของ BoJ ที่จะมีการออกประมาณการเงินเฟ้อและเศรษฐกิจชุดใหม่ที่จะเป็นการส่งสัญญาณถึงการดำเนินนโยบายการเงินสำหรับปี 2024 โดยเรามองว่า BoJ จะยังคงการดำเนินนโยบบายการเงินทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและมาตรการ Yield Curve Control เพื่อรอดูพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ รวมถึงการรอความชัดเจนของการปรับตัวขึ้นของค่าจ้าง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเงินเฟ้อจะสามารถบรรลุเป้าหมายของ BoJ ที่ 2% ได้อย่างยั่งยืน
- (25 ม.ค.) คาดว่า ECB จะยังมีท่าทีแข็งกร้าวและเข้มงวด เช่นเดียวกับการประชุมในครั้งก่อน และจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Deposit Facility Rate) เอาไว้ที่ 4.00% ตามเดิม ขณะเดียวกัน เรามองว่า ECB จะเริ่มมีการพิจารณาอย่างเปิดเผยมากขึ้น ถึงแผนการที่จะทำ QT ให้เร็วขึ้น เพื่อรักษาระดับความเข้มงวดของสภาวะการเงินในยุโรปหากมีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป โดยเราคาดว่า ECB มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยราว 100bps ในปี 2024F (ครั้งละ 25bps)
- (30-31 ม.ค.) คาด Fed มีแนวโน้มที่จะกลับมาแสดงท่าที Hawkish มากขึ้น หลังดัชนีภาวะการเงิน (Financial Condition Index) กลับมาผ่อนคลายแตะระดับ 0.6 จุด ซึ่งเป็นระดับที่เคยกระตุ้นให้ Fed มีท่าที Hawkish เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่ง Fed มีโอกาสที่จะส่งสัญญาณว่าตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ต้องลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ และให้ติดตามพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อไป ขณะเดียวกัน เรามองว่า Fed จะพยายามคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเอาไว้ให้นานที่สุด ก่อนจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วง 2H24F ไม่น้อยกว่า 50bps ซึ่งจากมุมมองของตลาดที่คาดราว -125bps อาจมีความแข็งกร้าวเกินไป ทำให้ในระยะสั้น US10Y Yield มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้
- (เดือน ม.ค.) ติดตามความคืบหน้าของการยื่นเสนอร่างฯ พ.ร.บ. เงินกู้ 5 แสนล้านบาทสำหรับโครงการ Digital Wallet ซึ่งเรามองว่ามาตรการดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ โดยประเด็นเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนอาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้มีการยื่นเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้
- (เดือน ม.ค.) IMF จะมีการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าประมาณการเศรษฐกิจอาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะจากครั้งก่อน (เดือน ต.ค. คาดเศรษฐกิจโลกโต 3.0% ในปี 2023F และ 2.9% ในปี 2024F จากระดับ 3.5% ในปี 2022) อย่างไรก็ดี คาดว่า IMF จะยังคงกังวลต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศหลัก หลังมีการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดอย่างมาก, ความสามารถในการชำระหนี้จากภาระหนี้และดอกเบี้ยที่สูง, ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และปัญหาความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์