/
/
3 เคล็ดลับลงทุนกองทุน RMF

3 เคล็ดลับลงทุนกองทุน RMF

3 เคล็ดลับลงทุนกองทุน RMF

เมื่อเข้าสู่ช่วงเลือกกองทุนสำหรับลดหย่อยภาษี กองทุนประเภท RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ถือเป็นหนึ่งในกองทุนที่สามารถลงทุนเพื่อได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยหลายๆท่านอาจกำลังพิจารณาอยู่ว่าควรเลือกลงทุนในกองทุน RMF อย่างไร โดยนอกเหนือนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่รับได้แล้ว ทาง บลจ. ทิสโก้จะมาเล่าถึงเคล็ดลับในการเลือกลงทุนในกองทุน RMF เพื่อสามารถใช้วางแผนให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลงทุนและเกษียณอย่างมีความสุข

1. กระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์

สำหรับการลงทุนในกองทุน RMF นั้น ผู้ลงทุนสามารถกระจายการลงทุนได้ในหลายสินทรัพย์ ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้ เนื่องจากกองทุน RMF มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายในทุกระดับความเสี่ยง ตั้งแต่พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ ไปจนถึงหุ้นที่มีระดับเสี่ยงสูงหรือทองคำที่มีความเสี่ยงสูงมาก ซึ่งผู้ลงทุนสามารถลงทุนกองทุน RMF ได้หลายกองทุนต่อปีภาษี และไม่จำเป็นต้องลงทุนกองทุนเดิม

ทั้งนี้ การกระจายการลงทุนไม่ได้หมายถึงการกระจายซื้อกองทุน RMF ในหลายบลจ. แต่หมายถึงการกระจายเข้าซื้อกองทุน RMF ในหลายสินทรัพย์เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงและเป็นกลยุทธ์รับมือในยามตลาดผันผวน ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนเพียงไม่กี่บลจ. แล้วมุ่งเน้นการกระจายความเสี่ยงตามสินทรัพย์ตามกองทุน RMF ของบลจ.นั้นๆ และหากมีการเข้าลงทุนในกองทุนประเภทอื่นๆ อาทิ กองทุน SSF และกองทุนเปิดด้วยแล้ว ควรจะพิจารณาการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์จากสัดส่วนการลงทุนรวมทั้งหมดด้วยเช่นกัน เช่น หากมีสัดส่วนลงทุนในหุ้นจีนในกองทุน SSF และกองทุนเปิดทั่วไปในสัดส่วนที่เยอะแล้ว ก็ควรกระจายการลงทุนไปยังภูมิภาคอื่นด้วยในการลงทุนกองทุน RMF

2. ถ้าอายุยังน้อยสามารถเพิ่มความเสี่ยงการลงทุนสำหรับผลตอบแทนคาดหวังที่เพิ่มขึ้น

สำหรับผู้ลงทุนที่ยังมีอายุน้อยสามารถพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างเช่นหุ้น เพื่อเพิ่มโอกาสได้ผลตอบแทนที่คาดหวังขึ้น เนื่องจากการลงทุนกองทุน RMF ถือเป็นการลงทุนระยะยาวจากเงื่อนไขการขายคืนที่กำหนดให้ผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อวันแรกและเข้าซื้อต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี) รวมถึงต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ถึงจะสามารถขายคืนได้ ซึ่งสำหรับผู้ที่มีอายุยังน้อยจะถือเป็นการบังคับให้ต้องลงทุนระยะยาว จึงมีระยะเวลาการลงทุนที่มากพอที่จะข้ามผ่านความผันผวนของตลาดและสร้างผลตอบแทนที่เติบโตมากกว่าอัตราเงินเฟ้อได้นั้นเอง

3. เพิ่มสัดส่วนการลงทุนไปต่างประเทศเพื่อคว้าโอกาสในการเติบโต

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนสามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตไปกับภูมิภาคอื่นนอกเหนือจากการลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะผู้ที่ยังคงถือครองกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) หรือมีสัดส่วนการลงทุนกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) เนื่องจากกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้มีนโยบายการลงทุนเฉพาะสินทรัพย์ในประเทศไทย ซึ่งผู้ลงทุนสามารถกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศได้ผ่านกองทุน RMF ที่มีนโยบายเปิดกว้างให้เลือกลงทุนได้หลากหลายภูมิภาคทั้ง สหรัฐฯ, ยุโรป, ญี่ปุ่น, เวียดนาม หรือจะเลือกกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นทั่วโลกได้เช่นกัน นอกจากนี้กองทุน RMF ยังมีนโยบายให้ลงทุนกระจายได้ในหลายอุตสาหกรรมในต่างประเทศอย่าง Technology หรือ Healthcare ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) อีกด้วย

 

โดยสรุปแล้ว ผู้ที่ลงทุนในกองทุน RMF สามารถได้รับประโยชน์จากการลงทุนในระยะยาวและเป็นการออมเงินเพื่อการเกษียณนอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งผู้ลงทุนสามารถกระจายการลงทุนในกองทุน RMF ได้ในหลายสินทรัพย์, เพิ่มสัดส่วนลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสำหรับผู้ที่มีอายุน้อย รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการลงทุนไปต่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน โดยหากเรามีการวางแผนการลงทุนที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวัง เราก็จะสามารถมีเงินใช้เพียงพอหลังเกษียณและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขนั่นเอง

 

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน

Facebook
Twitter
LinkedIn

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TISCO Contact Center 0 2633 6000 กด 4 , 0 2080 6000 กด 4
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน

รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือโดยทางอื่นใด ทิสโก้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่ผู้เดียว

Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก