/
/
/
/
TISCO ESU Morning View ประจำวันที่ 31 ม.ค. 67
TISCO ESU Morning View ประจำวันที่ 31 ม.ค. 67
Summary
- (30-31 ม.ค.) คาด Fed มีแนวโน้มที่จะกลับมาแสดงท่าที Hawkish มากขึ้น หลังดัชนีภาวะการเงิน (Financial Condition Index) กลับมาผ่อนคลายแตะระดับ 0.6 จุด ซึ่งเป็นระดับที่เคยกระตุ้นให้ Fed มีท่าที Hawkish เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่ง Fed มีโอกาสที่จะส่งสัญญาณว่าตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ต้องลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ และให้ติดตามพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อไป ขณะเดียวกัน เรามองว่า Fed จะพยายามคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเอาไว้ให้นานที่สุด ก่อนจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วง 2H24F ไม่น้อยกว่า 50bps ซึ่งจากมุมมองของตลาดที่คาดราว -125bps อาจมีความแข็งกร้าวเกินไป ทำให้ในระยะสั้น US10Y Yield มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้
- (เดือน ม.ค.) ติดตามความคืบหน้าของการยื่นเสนอร่างฯ พ.ร.บ. เงินกู้ 5 แสนล้านบาทสำหรับโครงการ Digital Wallet ซึ่งเรามองว่ามาตรการดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ โดยประเด็นเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนอาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้มีการยื่นเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้
- (1 ก.พ.) การประชุมย่อยในระดับรัฐมนตรีของกลุ่ม OPEC (Joint Ministerial Monitoring Committee: JMMC) ครั้งที่ 52 ซึ่งคาดว่าจะมีเพียงการรายงานเพื่อทบทวนอัตราการผลิตน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกในระหว่างเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2023 เทียบกับปริมาณโควต้า และคาดว่าจะมีการลงมติยืนยันการคงระดับเป้าหมายการผลิตน้ำมันดิบทั้งอย่างเป็นทางการ (Official quota) และการปรับลดการผลิตเพิ่มเติมโดยสมัครใจของสมาชิกบางประเทศ (Quasi-official quota) ที่ตกลงกันในการประชุมเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ย. 2023 ไปจนถึงสิ้นปี 2024
- (1 ก.พ.) ติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินจาก BoE และการให้แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตจากประธาน BoE เพื่อพิจารณาแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอังกฤษ เบื้องต้นเราคาดว่า BoE จะยังคงมีท่าทีที่เข้มงวด เนื่องจากอัตราการเติบโตของค่าจ้างแรงงานในอังกฤษอยู่ที่ระดับสูง อย่างไรก็ดี ตลาดคาดการณ์ว่า BoE จะเริ่มส่งสัญญาณถึงแนวทางในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบนี้ โดยมองว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งสิ้น 100 bps (จากระดับ 5.25% ในปัจจุบัน) โดยตลาดคาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค.
- (7 ก.พ.) คาด กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% ตามเดิม แม้กระแสแรงต้านจะเพิ่มขึ้นจากหลายภาคส่วนให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเรามองจากท่าทีของ กนง. ที่ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.5% เป็นระดับที่เหมาะสมกับสเถียรภาพของระบบการเงินและไม่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (Neutral) อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นในไตรมาสที่ 2 และยังมีความเสี่ยงด้านสูงอยู่อีกหลายปัจจัย จึงยังคงมองว่า กนง. จะรอคอยพัฒนาการในด้านต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ดี แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในประเทศมีความเสี่ยงด้านต่ำต่อประมาณการเดิมมากขึ้นจึงอาจนำไปสู่การพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ในช่วงครึ่งหลังของปี
- (24 ก.พ.) ติดตามผลการเลือกตั้งขั้นต้นในรัฐ South Carolina ซึ่งคาดว่าจะเป็นศึกชี้ชะตาตัวแทนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรค Republican โดยเราคาดว่าอดีต ประธานาธิบดี Donald Trump น่าจะเป็นตัวเต็งผู้สมัครที่ได้รับการเสนอชื่อจาก Republican ให้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับ Joe Biden ในศึกการเลือกตั้งทั่วไป เดือน พ.ย. นี้
- (เดือน ก.พ.) ติดตามการเจรจาของวุฒิสมาชิกและสภาผู้แทนราษฏรระหว่างทั้งสองพรรคในการบรรลุข้อตกลงทางการคลังเพื่อหลีกเลี่ยง Government Shutdown ที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ผ่านร่างฯ งบประมาณชั่วคราวไปแล้วในวันที่ 18 ม.ค. ในวงเงินเกี่ยวกับการช่วยเหลือทหารผ่านศึกและบริการความปลอดภัยด้านอาหารและยา (ประมาณ 20% ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด) ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 1 มี.ค. ขณะที่วงเงินอื่นๆ อาทิ กลาโหม, พาณิชย์ และอื่นๆ (ราว 80% ของงบประมาณทั้งหมด) จะครบกำหนดที่เคยได้รับการอนุมัติให้ยืดเวลาชั่วคราวออกไปจนถึงวันที่ 8 มี.ค. 2024
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TISCO Contact Center 0 2633 6000 กด 4 , 0 2080 6000 กด 4
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน
รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือโดยทางอื่นใด ทิสโก้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่ผู้เดียว
- ไทย: รายงานตัวเลขเศรษฐกิจรายเดือนโดย ธปท. (Monthy Economic Indicators) เดือน ธ.ค.
Upcoming Events
- (30-31 ม.ค.) คาด Fed มีแนวโน้มที่จะกลับมาแสดงท่าที Hawkish มากขึ้น หลังดัชนีภาวะการเงิน (Financial Condition Index) กลับมาผ่อนคลายแตะระดับ 0.6 จุด ซึ่งเป็นระดับที่เคยกระตุ้นให้ Fed มีท่าที Hawkish เพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่ง Fed มีโอกาสที่จะส่งสัญญาณว่าตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ต้องลดอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ และให้ติดตามพัฒนาการของตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อไป ขณะเดียวกัน เรามองว่า Fed จะพยายามคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเอาไว้ให้นานที่สุด ก่อนจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วง 2H24F ไม่น้อยกว่า 50bps ซึ่งจากมุมมองของตลาดที่คาดราว -125bps อาจมีความแข็งกร้าวเกินไป ทำให้ในระยะสั้น US10Y Yield มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้
- (เดือน ม.ค.) ติดตามความคืบหน้าของการยื่นเสนอร่างฯ พ.ร.บ. เงินกู้ 5 แสนล้านบาทสำหรับโครงการ Digital Wallet ซึ่งเรามองว่ามาตรการดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนสูงว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ โดยประเด็นเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนอาจเป็นข้อจำกัดที่ทำให้มีการยื่นเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความได้
- (1 ก.พ.) การประชุมย่อยในระดับรัฐมนตรีของกลุ่ม OPEC (Joint Ministerial Monitoring Committee: JMMC) ครั้งที่ 52 ซึ่งคาดว่าจะมีเพียงการรายงานเพื่อทบทวนอัตราการผลิตน้ำมันดิบของประเทศสมาชิกในระหว่างเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2023 เทียบกับปริมาณโควต้า และคาดว่าจะมีการลงมติยืนยันการคงระดับเป้าหมายการผลิตน้ำมันดิบทั้งอย่างเป็นทางการ (Official quota) และการปรับลดการผลิตเพิ่มเติมโดยสมัครใจของสมาชิกบางประเทศ (Quasi-official quota) ที่ตกลงกันในการประชุมเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ย. 2023 ไปจนถึงสิ้นปี 2024
- (1 ก.พ.) ติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินจาก BoE และการให้แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินในอนาคตจากประธาน BoE เพื่อพิจารณาแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของอังกฤษ เบื้องต้นเราคาดว่า BoE จะยังคงมีท่าทีที่เข้มงวด เนื่องจากอัตราการเติบโตของค่าจ้างแรงงานในอังกฤษอยู่ที่ระดับสูง อย่างไรก็ดี ตลาดคาดการณ์ว่า BoE จะเริ่มส่งสัญญาณถึงแนวทางในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบนี้ โดยมองว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งสิ้น 100 bps (จากระดับ 5.25% ในปัจจุบัน) โดยตลาดคาดว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ค.
- (7 ก.พ.) คาด กนง. มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% ตามเดิม แม้กระแสแรงต้านจะเพิ่มขึ้นจากหลายภาคส่วนให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเรามองจากท่าทีของ กนง. ที่ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.5% เป็นระดับที่เหมาะสมกับสเถียรภาพของระบบการเงินและไม่กดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (Neutral) อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มที่จะเร่งตัวขึ้นในไตรมาสที่ 2 และยังมีความเสี่ยงด้านสูงอยู่อีกหลายปัจจัย จึงยังคงมองว่า กนง. จะรอคอยพัฒนาการในด้านต่างๆ มากขึ้น อย่างไรก็ดี แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในประเทศมีความเสี่ยงด้านต่ำต่อประมาณการเดิมมากขึ้นจึงอาจนำไปสู่การพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ในช่วงครึ่งหลังของปี
- (24 ก.พ.) ติดตามผลการเลือกตั้งขั้นต้นในรัฐ South Carolina ซึ่งคาดว่าจะเป็นศึกชี้ชะตาตัวแทนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากพรรค Republican โดยเราคาดว่าอดีต ประธานาธิบดี Donald Trump น่าจะเป็นตัวเต็งผู้สมัครที่ได้รับการเสนอชื่อจาก Republican ให้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีกับ Joe Biden ในศึกการเลือกตั้งทั่วไป เดือน พ.ย. นี้
- (เดือน ก.พ.) ติดตามการเจรจาของวุฒิสมาชิกและสภาผู้แทนราษฏรระหว่างทั้งสองพรรคในการบรรลุข้อตกลงทางการคลังเพื่อหลีกเลี่ยง Government Shutdown ที่จะเกิดขึ้นอีกครั้งหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ผ่านร่างฯ งบประมาณชั่วคราวไปแล้วในวันที่ 18 ม.ค. ในวงเงินเกี่ยวกับการช่วยเหลือทหารผ่านศึกและบริการความปลอดภัยด้านอาหารและยา (ประมาณ 20% ของวงเงินงบประมาณทั้งหมด) ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 1 มี.ค. ขณะที่วงเงินอื่นๆ อาทิ กลาโหม, พาณิชย์ และอื่นๆ (ราว 80% ของงบประมาณทั้งหมด) จะครบกำหนดที่เคยได้รับการอนุมัติให้ยืดเวลาชั่วคราวออกไปจนถึงวันที่ 8 มี.ค. 2024