/
/
/
/
สรุปผลประชุม Fed รอบล่าสุด ภาษี สงคราม จะกดดัน Fed ลดดอกเบี้ยเร็วขึ้นหรือไม่?

สรุปผลประชุม Fed รอบล่าสุด ภาษี สงคราม จะกดดัน Fed ลดดอกเบี้ยเร็วขึ้นหรือไม่?

ถึงแม้การประชุม Fed ครั้งล่าสุดนักลงทุนพอจะคาดการณ์ได้อยู่แล้วว่า Fed คงไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ แต่สิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจก็คือ การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจและดอกเบี้ยของคณะกรรมการ Fed รวมถึงการออกมาให้ความเห็นของประธาน Fed ถึงประเด็นผลกระทบจากภาษีของ Trump และผลกระทบจากสงคราม อิสราเอลกับอิหร่านที่พึ่งเริ่มต้นขึ้นก่อนการประชุม Fed ไม่นาน

ประเด็นสำคัญจากผลการประชุม Fed ครั้งล่าสุด

  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ช่วง 4.25%-4.5%
  • (Dot plot) ซึ่งแสดงการคาดการณ์ดอกเบี้ยของกรรมการ Fed บ่งชี้ว่ากรรมการ Fed ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดอัตราดอกเบี้ยรวม 0.50% ในปี 2025 ซึ่งหมายถึงการปรับลดดอกเบี้ย สองครั้ง ครั้งละ 0.25% เช่นเดียวกับที่คาดไว้ในเดือนมีนาคม
  • ถ้อยคำในแถลงการณ์ ได้ตัดข้อความเดิมที่ระบุว่า “คณะกรรมการเห็นว่าความเสี่ยงด้านอัตราว่างงานและเงินเฟ้อที่สูงขึ้นได้เพิ่มขึ้น” ออกไป และเปลี่ยนเป็นระบุว่า ความไม่แน่นอนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ “ลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง”
  • ประมาณการเงินเฟ้อพื้นฐาน ถูกปรับเพิ่มเป็น 3.1% ณ สิ้นปี 2025 จากเดิมที่คาดไว้ในเดือนมีนาคมที่ 2.8%
  • ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจ ถูกปรับลดลงเหลือ 1.4% ณ สิ้นปี 2025 จากเดิมที่คาดไว้ 1.7%

โดยความเห็นของ Jerome Powell ประธาน Fed ระบุว่าขณะนี้กำลังรอความชัดเจนว่า ภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นนั้น จะส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อในลักษณะชั่วคราว หรือยืดเยื้อในระยะยาว โดย Powell ระบุว่ายังไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่า ภาระค่าใช้จ่ายจากภาษีจะตกอยู่กับผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด แต่เขาคาดว่าจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในช่วงฤดูร้อนนี้

“ท้ายที่สุดแล้ว ต้นทุนของภาษีจะต้องมีคนรับผิดชอบ และบางส่วนของภาระนั้นก็จะตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เรารู้ว่าสิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้น และเราก็แค่อยากเห็นหลักฐานบางส่วนก่อนที่จะตัดสินใจ”

โดยการคาดการณ์ดอกเบี้ยของคณะกรรมการ Fed สะท้อนให้เห็นถึงความแตกแยกด้านความเห็นในการปรับเปลี่ยนดอกเบี้ยภายในที่เพิ่มขึ้น โดยขณะที่ Dot Plot ยังแสดงว่าคณะกรรมการ Fed ส่วนใหญ่คาดว่าจะปรับลดดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ แต่ตอนนี้มี คณะกรรมการ 7 คนที่คาดว่าจะไม่มีการลดดอกเบี้ยในปี 2025 เทียบกับ 10 คนที่มองว่าจะมีการลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้ง

นักวิเคราะห์ประเมินว่าการที่กรรมการ Fed เห็นพ้องต้องกันว่า ยังไม่ควรทำอะไรตอนนี้ แต่ก็มีความเห็นที่แตกต่างกันมากเกี่ยวกับความเสี่ยงในระยะข้างหน้า ซึ่งความเห็นที่ไม่ตรงกันใน Dot Plot นั้นสะท้อนถึงความแตกต่างในการประเมินว่า เงินเฟ้อจะยังคงยืดเยื้อนานแค่ไหน

และเมื่อถูกถามถึงมุมมองที่ต่างกันของคณะกรรมการ Fed ใน Dot Plot – Powell พยายามลดความสำคัญของความแตกต่างเหล่านั้น โดยกล่าวว่า:“ไม่มีใครยึดมั่นในเส้นทางของดอกเบี้ยเหล่านี้มากนัก เพราะความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจยังคงอยู่ในระดับสูง”

ด้านความเห็นต่อประเด็นสงคราม Powell ยังไม่ได้ให้ความเห็นมากนัก อย่างไรก็ดีหากวิเคราะห์จากแบบจำลองของ Fed ที่เคยเผยแพร่ออกมานั้น Fed ประเมินว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น $10 จะส่งผลให้ GDP ของสหรัฐฯ หดตัว 0.4% และดันเงินเฟ้อขึ้น 0.35% แบ่งเป็น 0.2% จากราคาพลังงานที่สูงขึ้นโดยตรง และ 0.15% จากผลกระทบทางอ้อม โดยหากสงครามส่งผลให้น้ำมันมีราคาสูงก็ยิ่งจะขยายปัญหาหลักที่ Fed กังวลที่สุด นั่นก็คือภาวะเงินเฟ้อที่มาพร้อมกับเศรษฐกิจชะลอ (Stagflation) ซึ่งจะบีบบังคับให้ Fed ต้องเลือกระหว่างการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือควบคุมเงินเฟ้อ

ซึ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจหรือควบคุมเงินเฟ้อ สิ่งใดจะถูก Fed ให้ความสำคัญมากกว่ากัน อาจขึ้นอยู่กับลำดับเวลาของผลกระทบทางเศรษฐกิจ หากมองจากประวัติศาสตร์ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯเคยเข้าสู่ภาวะ Stagflation แล้ว แนวโน้มว่า Fed จะให้ความสำคัญกับอะไรก่อน อาจขึ้นอยู่กับแนวทางของประธาน Fed โดยในสมัยของ Arthur Burns อดีตประธาน Fed (1970-1978) นั้นให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ในสมัยต่อมา Paul Volcker (1979-1987) ให้ความสำคัญกับการควบคุมเงินเฟ้อ 

โดยหากประเมินจากท่าทีของ Jerome Powell ในอดีตอาจจะพอคาดการณ์ได้ว่า Fed ในยุคปัจจุบันนั้นให้ความสำคัญกับการจ้างงานมากกว่าเงินเฟ้อ และน่าจะเลือกใช้นโยบายลดดอกเบี้ยหากราคาน้ำมันเริ่มทำหน้าที่เหมือนภาษีทางอ้อมต่อภาคธุรกิจและผู้บริโภค แต่ Fed จะยอมมองข้ามเงินเฟ้อที่เกิดจากน้ำมันได้ก็ต่อเมื่อความคาดหวังต่อเงินเฟ้อในระยะยาวยังไม่เพิ่มสูงขึ้นมากนัก ซึ่งก่อนหน้านี้เงินเฟ้อคาดหวังได้ลดลง แต่สุดท้ายก็เริ่มขยับขึ้นอีกครั้งนับตั้งแต่ความขัดแย้งอิหร่าน-อิสราเอลเริ่มต้นขึ้น อย่างไรก็ดีในปัจจุบัน การขุดเจาะน้ำมันแบบ fracking (กระบวนการขุดเจาะน้ำมันที่ใช้เทคโนโลยีเฉพาะทาง) ทำให้สหรัฐฯ ได้กลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ ดังนั้นสถานการณ์ในปัจจุบันจึงแตกต่างจากวิกฤตราคาน้ำมันในช่วงปี 1973 ที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง 

โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าทั้งผลกระทบจากทั้งภาษีและสงครามอิสราเอลกับอิหร่านยังคงมีความไม่แน่นอนและคาดเดาได้ยากมาก ซึ่งในตอนนี้แม้กระทั่ง Fed เองก็อาจจะยังประเมินไม่ได้ด้วยซ้ำ ดังนั้นในปีนี้ Fed จะลดดอกเบี้ยกี่ครั้งและลดดอกเบี้ยหรือไม่ บางทีอาจจะยังเร็วเกินไปที่จะหาคำตอบในตอนนี้

ที่มา: Bloomberg , Financial Times

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TISCO Contact Center 0 2633 6000 กด 4 , 0 2080 6000 กด 4
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน

รายงานฉบับนี้ไม่ถือว่าเป็นคำเสนอหรือคำชี้ชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น มิให้นำไปเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือโดยทางอื่นใด ทิสโก้ไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือเป็นผลจากการใช้เนื้อหาหรือรายงานฉบับนี้ การนำไปซึ่งข้อมูล บทความ บทวิเคราะห์ และการคาดหมายทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับนี้เป็นการนำไปใช้โดยผู้ใช้ยอมรับความเสี่ยงและเป็นดุลยพินิจของผู้ใช้แต่ผู้เดียว

Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก