/
/
/
ออมน้อย แต่ออมเร็ว VS ออมเยอะ แต่ออมช้า มงจะลงที่ใคร

ออมน้อย แต่ออมเร็ว VS ออมเยอะ แต่ออมช้า มงจะลงที่ใคร

ออมน้อย แต่ออมเร็ว VS ออมเยอะ แต่ออมช้า มงจะลงที่ใคร

“อนงค์” สาวสวยทันสมัยใช้เงินเป็น สนใจเรื่องออมและลงทุนมาก ถึงแม้ตอนนี้รายได้ยังไม่มากนักเพราะเพิ่งเริ่มทำงาน แถมยังมีภาระอีกตั้งหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ อีกมากมายอนงค์ก็ตั้งใจว่าจะออมให้ได้อย่างน้อยเดือนละ 5,000 บาท ซึ่งอนงค์วางแผนว่าจะทำงานไปอีก 40 ปีจนเกษียณอายุ

ส่วน “สอางค์” อายุเท่ากับอนงค์ เงินเดือนใกล้เคียงกัน แต่ไม่ค่อยได้เก็บเงินเพราะแอบช้อปเสื้อผ้าหน้าผม ใช้เงินเก่งกว่าอนงค์มาก พอเวลาผ่านไป 20 ปี สอางค์ก็เริ่มคิดได้ว่าการออมและลงทุนเพื่อการเกษียณสำคัญมาก เลยตัดสินใจลงทุนเป็น 2 เท่าของอนงค์ คือ ลงทุนเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งสอางค์มีเวลาในการลงทุน 20 ปีจนถึงวันเกษียณอายุ

สมมติว่าทั้ง 2 คน ลงทุนได้ผลตอบแทน 4% ต่อปีเท่ากัน มาดูกันซิว่า “มงจะลงที่ใคร ณ วันเกษียณ”
  • อนงค์จะมีเงินประมาณ 5.91 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้น 2.40 ล้านบาท และผลตอบแทน 3.51 ล้านบาท 
  • สอางค์จะมีเงินประมาณ 3.67 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินต้น 2.40 ล้านบาท และผลตอบแทน 1.27 ล้านบาท  

    ซึ่งเงินต้นที่อนงค์และสอางค์ลงทุนนั้นเท่ากัน คือ 2.40 ล้านบาท แม้ว่าอนงค์จะออมและลงทุนต่อเดือนน้อยกว่า แต่มีระยะเวลาลงทุนที่นานกว่า ส่งผลให้ได้ผลตอบแทนทบต้นทบดอกมากกว่า ทำให้อนงค์มีเงินออมมากกว่าสอางค์ที่ออมต่อเดือนเยอะกว่า แต่ออมช้า

ถ้าเราอยากรู้ว่าเงินที่เตรียมไว้พอใช้หลังเกษียณหรือเปล่า ให้ลองคำนวณ “เงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ” ซึ่งปัจจัยหลักที่ใช้ในการคำนวณถึงมีดังนี้

  1. อายุขัย
    ให้ลองประมาณอายุขัยของตัวเองจากอายุขัยของคนในครอบครัว และดูจากการใช้ชิวิตของเราว่าใช้ชีวิตดีมั้ย โดยควรกำหนดให้อายุยืนเข้าไว้ เพื่อจะได้วางแผนเก็บเงินไว้ให้มากที่สุด ซึ่งอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยที่พ้นวัยเกษียณแล้วปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 80 ปีสำหรับผู้ชาย และ 85 ปีสำหรับผู้หญิง (ที่มา : สารประชากร) มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. เงินเก็บ ณ ปัจจุบันใครที่ “ออมก่อนใช้” มีวินัยทางการเงินที่ดีมาตลอด และใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งจำเป็น ก็จะมีเงินเก็บในปัจจุบัน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้เงินที่เราต้องเก็บออมต่อเดือนน้อยกว่าคนที่ไม่มีเงินก้อนที่เก็บออมไว้เล
  1. เงินลงทุนต่อเดือน

เงินลงทุนต่อเดือน หมายถึงเงินที่เราออมและลงทุนทุกประเภทในแต่ละเดือน  ไม่ว่าจะเป็นเงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เงินฝากประจำ เป็นต้น ซึ่งหากเราลงทุนในแต่ละเดือนมากขึ้น เราก็จะไปถึงเป้าหมายเพื่อการเกษียณได้เร็วขึ้น โดยอัตราการออมขั้นต่ำควรอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10-20 ต่อเดือน

  1. ค่าใช้จ่ายต่อเดือน

ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อเดือนขึ้นกับรูปแบบการใช้ชีวิต ใครใช้ชีวิตแบบพอเพียงก็จะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนน้อยกว่าคนที่ใช้ชีวิตแบบพรีเมี่ยม นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณบางอย่างอาจลดลง เช่น ค่าเดินทาง ค่าปาร์ตี้สังสรรค์ เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมคำนวณรวมค่าซ่อมแซมบ้าน และค่ารักษาพยาบาลที่จะเพิ่มขึ้นหลังเกษียณไว้ด้วย นอกจากนี้ ควรมีประกันสุขภาพไว้ให้พร้อม เงินที่เราเก็บทั้งชีวิตจะได้ไม่หมดไปกับค่ารักษาพยาบาล

  1. ผลตอบแทนจากการลงทุน

สำหรับผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้น ขึ้นกับทรัพย์สินที่เราลงทุน ซึ่งในภาวะปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก แนะนำให้แบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงบ้าง เช่น หุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้ ต้องขึ้นกับระดับการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคนด้วย ถ้าเตรียมข้อมูลปัจจัยข้างต้นพร้อมแล้ว ไปคำนวณเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณกันได้เลยที่ https://pvd.tiscoasset.com/retirement

อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ TISCO Smart Retirement
Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก