/
/
/
เช็คด่วนโรคทางการเงิน ติดแล้วหรือยัง? Ep.2

เช็คด่วนโรคทางการเงิน ติดแล้วหรือยัง? Ep.2

เช็คด่วนโรคทางการเงิน ติดแล้วหรือยัง? Ep.2

/
/
/
เช็คด่วนโรคทางการเงิน ติดแล้วหรือยัง? Ep.2

เช็คด่วนโรคทางการเงิน ติดแล้วหรือยัง? Ep.2

เช็คด่วนโรคทางการเงิน ติดแล้วหรือยัง? Ep.2

เช็คด่วน โรคทางการเงิน ติดแล้วหรือยัง? EP.2

สัปดาห์ที่แล้ว เราได้วิเคราะห์สุขภาพทางการเงินด้วยตัวชี้วัดที่เรียกว่า “การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน” ด้วยการวิเคราะห์สภาพคล่องกันไปแล้ว ในสัปดาห์นี้ เราจะมาต่อกันที่ “การวิเคราะห์หนี้สิน” เพื่อดูความสามารถในบริหารจัดการหนี้และชำระหนี้ในอนาคต มาดูกันเลยว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางการเงินที่เกิดจากการมีหนี้สินหรือไม่ 

1. โรคหนี้บวม

สาเหตุของโรคนี้ คือ การมีหนี้สินที่สูงเกินไป จนทรัพย์สินที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ที่จะถึงกำหนดในอนาคตที่เป็นภาพระยะปานกลางถึงระยะยาว โดยให้คำนวณ อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt to Asset Ratio) ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่บอกว่าสัดส่วนหนี้ทั้งหมดที่มีสูงเกินไปหรือเปล่า มีความเสี่ยงที่ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนดชำระหรือไม่ โดยสูตรมีดังนี้

อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม

โดยอัตราส่วนนี้ไม่ควรเกิน 50% ถ้าคำนวณแล้วเกิน 50% ก็มีความเสี่ยงที่จะมีทรัพย์สินไม่พอจ่ายหนี้เมื่อถึงกำหนด นอกจากนี้ เมื่ออายุมากขึ้น อัตราส่วนนี้ควรจะลดลงเรื่อยๆ 

2. โรคหนี้อักเสบ

สาเหตุของโรคนี้ คือ การมีทรัพย์สินหลังจากหักภาระหนี้สินหรือมีความมั่งคั่งที่แท้จริงไม่เพียงพอมาชำระหนี้สินในอนาคต โดยเป็นการมองภาพในระยะยาว โดยให้คำนวณ “อัตราส่วนแสดงความสามารถในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด (Solvency Ratio)” ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่บอกว่า เราจะสามารถชำระหนี้ในระยะยาวด้วยความมั่งคั่งที่เรามีได้หรือไม่ โดยมีสูตรดังนี้

อัตราส่วนแสดงความสามารถในการชำระคืนหนี้ทั้งหมด = ความมั่งคั่งสุทธิ* / สินทรัพย์รวม


*ความมั่งคั่งสุทธิ คือ ยอดสินทรัพย์ที่เหลือหลังจากหักหนี้สินที่มีทั้งหมด (สินทรัพย์รวม – หนี้สินรวม)

หากคำนวณแล้ว อัตราส่วนนี้มากกว่า 50% แสดงว่าเรามีความมั่งคั่งสุทธิมากว่าหนี้สิน เรียกได้มีสถานะทางการเงินที่มีความมั่นคงในระยะยาว แต่ถ้าอัตราส่วนนี้น้อยกว่า 50% แสดงว่าหนี้สินที่มีสูงไปแล้ว และอาจจะประสบปัญหาการชำระคืนหนี้ในอนาคตได้

3. โรคหนี้โป่งพอง

สาเหตุของโรคนี้ คือ การมีรายได้ในในแต่ละเดือน/แต่ละปี ไม่เพียงพอที่ชำระหนี้สินที่ต้องชำระคืนต่อเดือน/ต่อปี

โดยให้คำนวณ “อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินจากรายได้ (Debt Service Ratio)” ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่บอกว่า เรามีความสามารถหารายได้มาชำระหนี้สินที่มีอยู่ได้หรือไม่ โดยมีสูตรดังนี้

อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินจากรายได้ (รายเดือน) = การชำระคืนหนี้สินต่อเดือน / รายได้รวมต่อเดือน

อัตราส่วนการชำระคืนหนี้สินจากรายได้ (รายปี) = การชำระคืนหนี้สินต่อปี / รายได้รวมต่อปี

อัตราส่วนนี้ขั้นต่ำเท่ากับ 15% ซึ่งใครมีความมั่งคั่งสุทธิสูง แต่มีสินทรัพย์สภาพคล่องน้อยก็อาจจะเจอปัญหาสภาพคล่องได้

เราทุกคนควรจะควบคุมหนี้สินของเราให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยไม่ก่อหนี้มากเกินไป และรักษาสุขภาพทางการเงินให้ดีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนอกจากจะนำไปสู่อิสรภาพทางการเงินแล้ว เราก็จะมีชีวิตที่ดีและมีความสุขไปด้วยกันทุกวันยันเกษียณเลยล่ะครับ

เพื่อนๆ สามารถติดตามสาระดีๆ และข้อมูลข่าวสารด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน การวางแผนเกษียณ ได้ที่ TISCO Smart Retirement 
#TISCOsmartretirement #สุขทุกวันยันเกษียณ #Smartretirement  #FreedombyTISCOPVD #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #กองทุนเลี้ยงชีพ #PVD

line Line Official @TISCOASSET

youtube Youtube Channel TISCO Fun(d) Station

facebook Facebook Fanpage : TISCO Asset Management

อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ TISCO Smart Retirement
Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก