/
/
/
“แก่ จน เหงา” โรคยอดฮิต ในยุค Aged Society

“แก่ จน เหงา” โรคยอดฮิต ในยุค Aged Society

“แก่ จน เหงา” โรคยอดฮิต ในยุค Aged Society

“แก่ จน เหงา” โรคยอดฮิต ในยุค Aged Society

/
/
/
“แก่ จน เหงา” โรคยอดฮิต ในยุค Aged Society

“แก่ จน เหงา” โรคยอดฮิต ในยุค Aged Society

“แก่ จน เหงา” โรคยอดฮิต ในยุค Aged Society

“แก่ จน เหงา” โรคยอดฮิต ในยุค Aged Society

ในห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง มีช่องจอดรถพิเศษที่มีป้ายคนถือไม้เท้า (Priority parking) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ ไม่ต้องไปวนหาที่จอดรถไกลๆ แถมยังอยู่ใกล้ประตูเข้าห้างด้วย ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ช่องจอดรถประเภทนี้ก็พอจะมีว่างอยู่บ้าง แต่ถ้าไปดูในปัจจุบัน บอกเลยว่าเต็มเกือบตลอดๆ

ซึ่งก็ไม่แปลกหรอกครับ เพราะประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเทียบกับประชากรทั้งหมดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไทยได้เลื่อนจากสังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ตั้งแต่ปี 2565 โดยมีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ 20% ของประชากรทั้งหมด พูดง่ายๆ ก็คือ คนเดินมา 10 คน จะเป็นผู้สูงอายุ 2 คน   

นอกจากนี้ คาดว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged Society) ที่มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ตั้งแต่ 28% หรือ คนอายุ 65 ปีขึ้นไปตั้งแต่ 20% ภายใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งก็จะเป็นภาพที่คนเดินมา 10 คน เป็นผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไปเกือบ 3 คนเลยทีเดียว ซึ่งในอนาคต สัดส่วนผู้สูงอายุจะยิ่งปรับเพิ่มขึ้นเร็วไปอีก เพราะแนวโน้มอัตราการเกิดของคนไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมากนั่นเอง   

จากความจริงที่ว่า เราทุกคนจะต้องไปถึงจุดที่ถูกเรียกว่า “ผู้สูงอายุ” และมักจะกังวลเกี่ยวการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงต่างๆ อย่างโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เพราะเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของคนไทย

แต่ยังมีอีกหนึ่งโรคยอดฮิตในยุค Aged Society ชื่อว่า โรค “แก่ จน เหงา” ที่เราอยากให้เพื่อนๆ ให้ความสำคัญและหาทางป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้ มาดูกันว่า อาการของโรค “แก่ จน เหงา” มันเป็นยังไง

  • ร่างกายก็ไม่ค่อยไหวแล้ว แต่ต้องทนทำงานต่อ เพราะรายได้ไม่พอใช้ แถมยังมีภาระต้องจ่ายหนี้ก้อนโต
  • รูปแบบการใช้ชีวิตหลังเกษียณแตกต่างจากก่อนเกษียณแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องใช้จ่ายแบบกระเหม็ดกระแหม่ เพราะดูแล้วเงินที่เก็บไว้ไม่น่าจะพอถึงวันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งก็คือ เงินหมดแล้วยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง
  • อยู่คนเดียวแบบเหงาๆ ไม่มีลูกหลานคอยดูแล เจ็บป่วยไปหาหมอทีก็ลำบาก ไปไหนก็พึ่งตัวเองไม่มีคนพาไป 

แล้วต้องทำยังไงดีล่ะ ที่จะได้ไม่ต้องเป็นโรค “แก่ จน เหงา” เราขอแนะนำให้ฉีดวัคซีน “Smart Retirement” ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

ด้วยความที่ใครๆ ก็สมัครใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดกันทั้งนั้น เพราะมีการโปรโมทสิทธิประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอยมากมาย หากใครใช้บัตรเครดิตอย่างไม่มีวินัยหรือไม่ระมัดระวัง ไม่ได้ถามตัวเองก่อนรูดบัตรว่า “ของชิ้นนั้นจำเป็นมั้ย” และ “จ่ายคืนเต็มจำนวนไหวมั้ย” ก็มักจะติดกับดัก  “การจ่ายขั้นต่ำ” ทำให้เราต้องเสียดอกเบี้ยสูงจากการใช้จ่ายบัตรเครดิตสำหรับค่าสินค้าและยอดหนี้ที่ยังค้างอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหนี้ท่วมนั่นเอง

“Smart Saving” ออมอย่างฉลาด

ให้วางแผนการเงินเพื่อการเกษียณทันทีด้วยการออมก่อนใช้อย่างน้อย 10% – 20% ของรายได้ ซึ่งอัตราการออมขึ้นกับไลฟ์สไตล์ในการใช้ชีวิตของแต่ละคน โดยเงินออมจะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่ายทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าไฟ เป็นต้น รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจลดลงหลังเกษียณ เช่น ค่าเดินทาง ค่าปาร์ตี้สังสรรค์ ทั้งนี้ อย่าลืมค่าซ่อมบ้าน และค่ารักษาพยาบาลที่จะเพิ่มขึ้นหลังเกษียณไว้ด้วย

โดยให้แบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นไทยหรือหุ้นต่างประเทศบ้าง เพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว และมีโอกาสสร้างสูงขึ้นที่จะมีเงินออมเพียงพอไว้ใช้หลังเกษียณ 

“Smart Spending” ไม่พลาดเรื่องใช้จ่าย

ให้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นและน้อยกว่ารายได้ที่หาได้ สร้างแต่หนี้ดีที่ทำให้คุณภาพชีวิตในอนาคตของเราดีขึ้น ไม่ควรใช้บัตรเครดิต หากไม่สามารถจ่ายคืนได้เต็มจำนวน นอกจากนี้ ไม่ควรก่อหนี้เพิ่มและพยายามจ่ายคืนหนี้เดิมที่มีอยู่ให้หมดโดยเร็ว ที่สำคัญ ห้ามเด็ดขาดกับการไปกู้ยืมหนี้นอกระบบ

“Smart Living” สบายๆ กับชีวิต

ให้เตรียมปรับบ้านให้เหมาะกับวัยเกษียณ เช่น เป็นบ้านชั้นเดียว มีแสงสว่างเพียงพอ ประตูกว้างพอรถเข็นผ่านได้ ไม่มีพื้นต่างระดับ ห้องน้ำมีราวจับแน่นหนาสามารถรับน้ำหนักของผู้สูงอายุ เป็นต้น ส่วนใครที่ขี้หงา ก็เลือกไปอยู่ในชุมชนสำหรับผู้สูงอายุได้ ซึ่งมีทั้งหมู่บ้านจัดสรร คอนโตมิเนียม หรือเป็นบ้านที่จัดสรรพื้นที่ให้อาศัยรวมกัน โดยในโครงการจะออกแบบและดีไซน์จุดต่างๆ ให้รองรับการใช้งานสำหรับผู้สูงอายุ และอาจจะมีโรงพยาบาลเพื่อดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุอีกด้วย

นอกจากนี้ ควรปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายแรงและโรคเรื้อรังต่างๆ เพื่อลดภาระค่ารักษาพยาบาลในช่วงหลังเกษียณ ด้วยการเลือกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ลดหวาน มัน เค็ม แอลกอฮอลล์ นอกจากนี้ ให้ออกกำลังกายให้เหมาะกับช่วงอายุ และนอนหลับให้เพียงพอ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน โดยฝึกเข้านอนไม่เกิน 4 ทุ่ม

ในส่วนของจิตใจก็สำคัญไม่แพ้กัน ให้หมั่นฝึกใจให้เข้มแข็งตั้งแต่ก่อนเกษียณ เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หลังเกษียณ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เศร้า หมดกำลังใจ หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ด้วยการฝึกสร้างใจดีๆ เช่น ฝึกยิ้มบ่อยๆ ฝึกมองแต่แง่ดี ฝึกปล่อยวาง ฝึกอภัยผู้อื่น เป็นต้น 

“Smart Insured” ลิมิตความเสี่ยง

ใสำหรับการวางแผนบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สิน ให้เลือกทำประกันให้เหมาะความต้องการ สภาพแวดล้อม ความเสี่ยงและรายได้ของเรา นอกจากนี้ ควรมีประกันสุขภาพไว้ให้พร้อม เงินที่เราเก็บทั้งชีวิตจะได้ไม่หมดไปกับค่ารักษาพยาบาล

เห็นมั้ยครับ เราสามารถห่างไกลจากโรค “แก่ จน เหงา” ได้ ขอแค่เพื่อนๆ ฉีดวัคซีน Smart Retirement แล้วทีนี้เราก็จะได้มีความสุขทุกวันไปด้วยกันยันเกษียณเลยล่ะคร้าบบบ

เพื่อนๆ สามารถติดตามสาระดีๆ และข้อมูลข่าวสารด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน การวางแผนเกษียณ ได้ที่ TISCO Smart Retirement 

#TISCOsmartretirement #สุขทุกวันยันเกษียณ #Smartretirement  #FreedombyTISCOPVD #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #กองทุนเลี้ยงชีพ #PVD

line Line Official @TISCOASSET

youtube Youtube Channel TISCO Fun(d) Station

facebook Facebook Fanpage : TISCO Asset Management

อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ TISCO Smart Retirement
Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก