/
/
/
“ความมั่งคั่งสุทธิ” ตัวชี้วัดความมั่งคั่ง

“ความมั่งคั่งสุทธิ” ตัวชี้วัดความมั่งคั่ง

ความมั่งคั่งสุทธิ

“ความมั่งคั่งสุทธิ” ตัวชี้วัดความมั่งคั่ง

ความมั่งคั่งสุทธิ ก็คือ มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดที่เรามีเหลืออยู่ หลังจากเราหัก “หนี้สิน” ที่มีทั้งหมดแล้ว ซึ่งความมั่งคั่งสุทธิจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาต่างๆ ดังนั้น การเปรียบเทียบความมั่งคั่งสุทธิในปัจจุบันและในอนาคต จะทำให้เราเห็นว่าเรามีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน
วิธีปฏิบัติในการคำนวณความมั่งคั่งสุทธิผ่านการทำงบดุลส่วนบุคคล
Step 1:
รวบรวมสินทรัพย์ต่างๆ ที่เราเป็นเจ้าของ โดยให้ตีเป็นมูลค่าตลาด หรือราคา ณ ปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น
  1. สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ สินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร เป็นต้น
  2. สินทรัพย์เพื่อการลงทุน คือ สินทรัพย์ที่เราถือไว้และคาดหวังว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้ในอนาคต เช่น หุ้นกู้ หุ้นสามัญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมต่างๆ เป็นต้น
  3. สินทรัพย์ใช้ส่วนตัว/สินทรัพย์มีค่า คือ สินทรัพย์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันหรือเก็บเป็นของสะสม เช่น บ้าน รถยนต์ ทองคำ เครื่องประดับ แสตมป์ เป็นต้น
  4. สินทรัพย์อื่นๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าให้เราได้ เช่น ลิขสิทธิ สิทธิบัตร เป็นต้น
Step 2: รวบรวมหนี้สินต่างๆ ที่คงค้างอยู่ในปัจจุบัน โดยแบ่งเป็น
  1. หนี้สินระยะสั้น คือ หนี้ที่ต้องชำระคืนภายใน 1 ปี เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้สินผ่อนชำระเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
  2. หนี้สินระยะยาว คือ หนี้ที่ต้องชำระคืนเกินกว่า 1 ปี เช่น สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน เป็นต้น
Step 3:
นำข้อมูลและมูลค่าของสินทรัพย์และหนี้สินมาจัดทำงบดุลส่วนบุคคล และคำนวณความมั่งคั่งสุทธิ
  1. สินทรัพย์ ให้แบ่งกลุ่มสินทรัพย์ตาม Step 1 และใส่ข้อมูลรวมถึงมูลค่าปัจจุบันให้ครบถ้วน รวมถึงคำนวณยอด “สินทรัพย์รวม”
  2. หนี้สิน ให้แบ่งกลุ่มหนี้สินตาม Step 2 และใส่ข้อมูลรวมถึงมูลค่าปัจจุบันให้ครบถ้วน รวมถึงคำนวณยอด “หนี้สินรวม”
  3. ความมั่งคั่งสุทธิ คำนวณจากสินทรัพย์รวม-หนี้สินรวม

หากความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวก หมายถึง เรามีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สิน
ในขณะที่ความมั่งคั่งสุทธิติดลบ หมายถึงสินทรัพย์ที่มีน้อยกว่าหนี้สินนั่นเอง ซึ่งปกติแล้ว ความมั่งคั่งสุทธิจะปรับเพิ่มขึ้นตามอายุและเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น โดยคนอายุน้อยส่วนใหญ่จะมีความมั่งคั่งสุทธิน้อยกว่าคนอายุมาก ซึ่งเราควรปรับปรุงงบดุลส่วนบุคคลทุกปีเพื่อจะได้เห็นว่ามีรายการสินทรัพย์ หนี้สิน เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน และทำให้ความมั่งคั่งของเราเพิ่มขึ้นหรือลดลง

นอกจากนี้ งบดุลส่วนบุคคลช่วยให้เรารู้ว่า เราไปถึงเป้าหมายทางการเงินที่วางแผนไว้หรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นไปตามแผน ก็จะได้แก้ไขหรือปรับแผนเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายทางเงินที่ตั้งไว้ แล้วทีนี้ เพื่อนๆ ก็จะมีความมั่งคั่งสุทธิเพิ่มขึ้น มีอิสรภาพทางการเงินและมีความสุขทุกวันยันเกษียณเลยล่ะครับ

อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ TISCO Smart Retirement
Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก