การกำกับดูแลกิจการ
นโยบายการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม


กลุ่มทิสโก้ได้กําหนดนโยบายการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรมฉบับนี้ (สําหรับให้พนักงานถือปฏิบัติเป็นแนวทางในการให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ากลุ่มทิสโก้มุ่งเน้นการให้บริการอย่างเป็นธรรม

โดยนโยบายดังกล่าวครอบคลุมระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าดังนี้ 

  1. กําหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
    คณะกรรมการบริษัทกําหนดแผนกลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจที่ให้ความสําคัญในการถ่ายทอด วัฒนธรรมการให้บริการอย่างเป็นธรรม

  2. การออกผลิตภัณฑ์
    จัดให้มีกระบวนการในการออกแบบและคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ถูกออกแบบโดยคํานึงถึงผลประโยชน์และความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นสําคัญ รวมถึงการวิเคราะห์ ผลิตภัณฑ์ในรายละเอียด
    กรณีที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะวิเคราะห์รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ต้องปฏิเสธการนําผลิตภัณฑ์นั้นมาเสนอขาย

  3. กระบวนการขาย
    เปิดเผยข้อมูลสําคัญของผลิตภัณฑ์ให้ครบถ้วน ไม่เกินจริง เพียงพอต่อการตัดสินใจ

  4. วิธีการจ่ายค่าตอบแทน
    ต้องคํานึงถึงประโยชน์ของลูกค้าและคุณภาพของการให้บริการเป็นสําคัญโดยไม่พิจารณาจากยอดขายเพียงอย่างเดียว

  5. การจัดการเรื่องร้องเรียน
    ต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเคร่งครัด

  6.  การดูแลข้อมูลลูกค้า
    ต้องจัดให้มีมาตรการในการดูแลรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า

  7. การควบคุมกํากับและตรวจสอบ
    กําหนดให้มีกระบวนการติดตามและตรวจสอบตามหลักการ A lines of defense
     
  8. การปฏิบัติงานและแผนรองรับการปฏิบัติงาน
    จัดให้มีการปฏิบัติงานและแผนรองรับการปฏิบัติงานทั้งกรณีปกติและกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

     
นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน

หลักการและเหตุผล

เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าบริษัทมุ่งเน้นการให้บริการเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า โดยบริษัทตระหนักและให้ความสําคัญในการกํากับดูแลการลงทุนตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จํากัด จึงกําหนดนโยบายฉบับนี้ สําหรับให้พนักงานถือปฏิบัติ


วัตถุประสงค์

นโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนฉบับนี้ กําหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดูแลการลงทุนตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุน เพื่อให้การบริหารจัดการลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ลูกค้าในระยะยาวและเป็นการร่วมในการผลักดันให้บริษัทที่ลงทุนมีการกํากับดูแลกิจการที่ดีและสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน


หลักการและแนวปฏิบัติ

1. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ

  • คณะกรรมการบริษัทอนุมัตินโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่ให้ความสําคัญในการสร้างและถ่ายทอดวัฒนธรรมการลงทุนที่มีธรรมาภิบาล และจัดให้มีการสื่อสารให้พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องภายนอกได้ทราบและตระหนักถึง วัฒนธรรมดังกล่าว เพื่อรักษาประโยชน์ (Fiduciary duty) และเสริมสร้างมูลค่าการลงทุนให้ลูกค้า รวมถึงจัดให้มีการทบทวนนโยบายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • คณะกรรมการลงทุน มีหน้าที่ควบคุมดูแล และกํากับการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้เพื่อให้การบริหารจัดการลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ลูกค้าในระยะยาว
  • พนักงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานจัดการลงทุนต้องปฏิบัติตามภาระหน้าที่ และขอบเขตของตําแหน่งที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้และแนวทางคู่มือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการลงทุน

2. หลักปฏิบัติในการลงทุน

เพื่อให้การบริหารจัดการลงทุนเป็นไปตามกฎหมาย ข้อตกลงกับลูกค้าด้วยความรับผิดชอบ มีจริยธรรมและ จรรยาบรรณ และเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า หน่วยงานที่เกี่ ยวข้องกับการจัดการลงทุนต้องปฏิบัติตามนโยบาย / แนวปฏิบัติต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด

  • การลงทุนตามหลัก ESG (การนําปัจจัยความรับผิดชอบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการ กํากับดูแลกิจการที่ดีมาประกอบการพิจารณาลงทุน)
  • การป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน
  • การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
  • การจัดการกับการใช้ข้อมูลที่มีนัยสําคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาของบริษัทที่ลงทุนที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ
  • การป้องกันพฤติกรรมการลงทุนที่ อาจก่อให้เกิดการกระทําอันไม่เป็นธรรมในการซื้อขายหลักทรัพย์

3. หลักปฏิบัติธรรมาภิบาลการลงทุน

นอกเหนือจากแนวปฏิบัติตามข้อ 2 แล้ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการลงทุนต้องปฏิบัติตามหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้เพิ่มเติมอย่างเคร่งครัด

  • การป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest Management) หน่วยงานจัดการลงทุนต้องปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันการกระทําอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในการจัดการกองทุน อันประกอบด้วย การทําธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (Related Party Transaction) การลงทุนเพื่อเป็นทรัพย์สินของบริษัท การรับผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้ให้บริการหรือบุคคลอื่นใด การซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน อย่างเคร่งครัด รวมทั้งจัดให้มีการสื่อสาร การติดตามและควบคุมอย่างเพียงพอ 
  • การตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์ (Actively) ในการตัดสินใจลงทุนและติดตามการดําเนินงานของบริษัทที่ลงทุน หน่วยงานจัดการลงทุนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกระบวนการที่บริษัทกําหนดเพื่ อให้มั่นใจว่าการติดตามนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ทําให้ บริษัททราบถึงการดําเนินงานและรู้ปัญหาของบริษัทที่ลงทุนตั้งแต่เริ่มต้นและทันเหตุการณ์
  • การเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุน กรณีที่พบประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าการลงทุน (Escalating Investee Companies) กรณีที่พบประเด็นข้อสงสัยเกี่ยวกับการกํากับดูและกิจการที่ดี หรือความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม หน่วยงานจัดการลงทุนต้องปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในนโยบายการลงทุนตามหลัก ESG (ESG Policy) ในการเพิ่มระดับและความเข้มข้นของมาตรการที่ใช้ในการติดตามบริษัทที่ลงทุนตามความจําเป็นและเหมาะสม เพื่อสร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูมูลค่าการลงทุนของบริษัทที่ลงทุนได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น อย่างไรก็ตามในการเข้าไปดําเนินการเพิ่ มเติมกับบริษัทที่ลงทุน หน่วยงานจัดการลงทุนต้องปฏิบัติตามแนว ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการกับการล่วงรู้ข้อมูลภายในอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายใน 
  • การใช้สิทธิออกเสียง (Proxy Voting) หน่วยงานจัดการลงทุนต้องดําเนินการใช้สิทธิออกเสียงด้วยความระมัดระวังตามแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียง ในที่ประชุมผู้ถือหุ้น และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเปิดเผยเกี่ยวกับการมอบหมายให้บุคคลอื่นดําเนินการใช้สิทธิออกเสียง (กรณีที่มี) และรายงานการใช้สิทธิออกเสียงแก่ลูกค้าผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่เหมาะสม
  • การร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม (Collective Engagement) หน่วยงานจัดการลงทุนอาจร่วมมือกับผู้ลงทุนสถาบันรายอื่นหรือผู้มีส่วนได้เสียด้วยความระมัดระวังเพื่อนําไปสู่ การสร้างผลกระทบการเปลี่ยนแปลงในบริษัทที่ลงทุน ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการดําเนินการกับบริษัทที่มีข้อกังวลและยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาหลังจากเพิ่มระดับในการติดตามได้
  •  การเปิดเผยนโยบายและการปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน หน่วยงานจัดการลงทุนต้องจัดให้มีการเปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และรายงานผลการปฏิบัติตามนโยบายให้ลูกค้าทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น website , รายงานประจําปี ของบริษัท (ถ้ามี)

 

 

รายงานการปฎิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด “บริษัท” ได้ประกาศรับการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลการลงทุนและกำหนดนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน (Investment Governmence Policy: I Code) เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติในการบริหารจัดการการลงทุนเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้าตามหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้