ทิสโก้มาสเตอร์ฟันด์
ทิสโก้มาสเตอร์ฟันด์ อิสระแห่งการลงทุนที่สมาชิกเลือกได้ (Employee's Choice)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประกอบไปด้วยสมาชิกจำนวนมาก ที่มีความคาดหวังในเรื่องผลตอบแทนและความสามารถในการรับความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งการมีเพียงหนึ่งนโยบายการลงทุนอาจไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด สำหรับสมาชิกกองทุนทุกรายเสมอไป ดังนั้น กฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงอนุญาตให้กองทุนสามารถมีหลายนโยบายการลงทุนภายใต้กองทุนเดียวกันได้ (“Master Fund”) เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในกองทุนเดียวกันไม่จำเป็นต้องเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมือนกันอีกต่อไป โดยสมาชิกแต่ละคนสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับอายุ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ รวมถึงความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้

บลจ.ทิสโก้ จึงได้ริเริ่มการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประเภท "มาสเตอร์ฟันด์ (Master Fund)" ซึ่งปัจจุบัน กองทุนประเภท Master Fund ทั้งประเภท "กองทุนเดี่ยว" (Single Fund) และประเภท "กองทุนร่วมทุน" (Pooled Fund)

ปัจจุบันบลจ. ทิสโก้ มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารการจัดการที่เติบโตขึ้นนอย่างต่อเนื่อง จากความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในความเป็นมืออาชีพในการบริหารกองทุนที่สร้างผลการดำเนินงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีบริการที่ทำให้สมาชิกสามารถเปลี่ยนทางเลือกการลงทุนให้เหมาะกับทุกจังหวะชีวิต ได้สะดวก ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านบริการ Online ได้อีกด้วย

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้มาสเตอร์ร่วมทุน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (TISCO Master Pooled Registered Provident Fund) หรือเรียกสั้นๆ ว่า "MRT"

กองทุนทิสโก้มาสเตอร์ร่วมทุน (TISCO Master Pooled Fund) มีนโยบายการลงทุนให้สมาชิกเลือกลงทุน โดยเรียงนโยบายตามความเสี่ยงและโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว จากต่ำไปสูง ดังต่อไปนี้

แต่ละนโยบายลงทุนอะไร?

  • นโยบายตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-Term Fixed-Income)

    มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ ที่เน้นการลงทุนด้วยเงินฝากและตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่องสูง ทั้งนี้ เน้นการลงทุนในการฝากเงิน และตราสารหนี้บางประเภทของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ เช่น ตั๋วแลกเงิน (B/E) และ หุ้นกู้ธนาคาร รวมทั้งตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ โดยไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชน โดยอายุเฉลี่ยของตราสารที่มีการลงทุนทั้งหมดรวมกันไม่เกิน 1 ปี ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงต่ำทั้งในแง่ความเสี่ยงด้านเครดิต ความผันผวนของราคา ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการรักษาเงินต้น และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้ต่ำย

  • นโยบายตราสารหนี้ (General Fixed-Income)

    มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ ที่เน้นการลงทุนด้วยการฝากเงินและตราสารหนี้ทั่วไป ได้แก่ เงินฝากธนาคาร ตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ตราสารหนี้บางประเภทของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ เช่น ตั๋วแลกเงิน (B/E) และหุ้นกู้ธนาคาร รวมถึงตราสารหนี้ภาคเอกชน เช่น ตั๋วแลกเงิน (B/E) และหุ้นกู้บริษัทเอกชน โดยปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของกองทุน ได้แก่ ความมั่นคงของผู้ออกตราสารและการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการรับรายได้จากการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวในระดับปานกลาง และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้บ้าง

  • นโยบายผสม (ทองคำ) (Mixed : Fixed Income + Gold ไม่เกิน 10%)

    มีนโยบายการลงทุนในตราสารหนี้ ที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป และลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) เฉพาะกองทุนที่ลงทุนในกองทุนรวมทองคำ โดยลงทุนไม่เกินร้อยละ 10 โดยปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนของกองทุน ได้แก่ ความมั่นคงของผู้ออกตราสารและการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการรับรายได้จากการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวในระดับปานกลาง-ค่อนข้างสูง และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้บ้าง

  • นโยบายหน่วยลงทุน – ผสม (Mixed : Fixed-Income + REIT ไม่เกิน 20%)

    มีนโยบายการลงทุนในกองทุนรวมที่บริหารโดย บลจ. ทิสโก้ ทั้งในส่วนของตราสารหนี้และสินทรัพย์ทางเลือก โดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยจะลงทุนในกองทุนรวมผสมที่ลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ใบทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ใบทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการรับรายได้จากการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวในระดับปานกลาง-ค่อนข้างสูง และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้

  • นโยบายหน่วยลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ – ผสม (Foreign Investment Fund - Mixed)

    มีนโยบายการลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศที่บริหารโดย บลจ.ทิสโก้ ทั้งในส่วนของตราสารหนี้ ตราสารทุน รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือกโดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยจะมีลงทุนในกองทุนเปิด ทิสโก้ โกลบอล อินคัม พลัส โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการรับรายได้จากการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวในระดับค่อนข้างสูง และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้

  • นโยบายตราสารทุน (Equity)

    มีนโยบายการลงทุนที่มุ่งเน้นในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการมุ่งเน้นการเติบโตของเงินลงทุน และคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวในอัตราที่สูง และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้สูง

  • นโยบายหน่วยลงทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ - ตราสารทุน (Foreign Investment Fund - Equity)

    มีนโยบายการลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ – ตราสารทุน ที่บริหารโดย บลจ. ทิสโก้ โดยเฉลี่ยในรอบปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งเป็นการลงทุนที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงในภาวะที่ตลาดในประเทศมีความผันผวน โดยคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวในอัตราที่สูง และสามารถรับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราผลตอบแทนได้สูง

ตอบโจทย์ทุกความต้องการด้วยทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย

จากนโยบายการลงทุนตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ทิสโก้ได้กำหนดรูปแบบทางเลือกมาตรฐาน (Standard Option) ซึ่งคาดว่าสามารถครอบคลุมความต้องการส่วนใหญ่ของสมาชิก และเพื่อให้ง่ายต่อคณะกรรมการกองทุนในการสื่อสารถึงสมาชิกกองทุน ในกรณีที่ให้สมาชิกเลือกนโยบายการลงทุนด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตาม หากบริษัทนายจ้างต้องการทางเลือกให้สมาชิกมากกว่านี้ ทิสโก้ยังสามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีรูปแบบ “Free Style” ซึ่งสมาชิกสามารถเลือกผสมนโยบายการลงทุนได้ตามต้องการ

สรุปข้อมูลสำคัญของนโยบายการลงทุน ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2566 (Fund Fact Sheet)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้ร่วมทุน 1 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (RT-1)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้ร่วมทุน 2 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (RT-2)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้ร่วมทุนมั่นคง ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (RT-MK)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้มาสเตอร์ร่วมทุน ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (MRT)
สรุปภาวะเศรษฐกิจและการลงทุน ครึ่งหลังปี 2566 พร้อมทั้งมุมมองปี 2567

สนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือพิจารณาเลือกบริษัทจัดการกองทุน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
02 633 6161  หรืออีเมล์ tasset_pvd@tisco.co.th