เกษียณปีที่หุ้นตก ทำยังไงกับ PVD ได้บ้าง
เกษียณปีที่หุ้นตก ทำยังไงกับ PVD ได้บ้าง

ใครที่จะเกษียณสิ้นปีนี้ คงว้าวุ่นน่าดู เพราะต้องลุ้นหนักมากให้หุ้นขึ้นตอนสิ้นปี แล้วถ้าเกิดหุ้นยังตกหนักอยู่ในวันที่เราเกษียณ สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) จะมีทางเลือกในการจัดการเงิน PVD ยังไงบ้าง ไปดูกันครับ

เวลาที่เราจะสร้างหนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็น “หนี้ดี” ก็ตาม เราต้องใช้วางแผนอย่างรอบคอบและระมัดระวังก่อนที่จะก่อหนี้  เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตรงตามเวลาที่กำหนด โดยก่อนสร้างหนี้ให้เช็คเรื่องต่างๆ ดังนี้


1. คงเงิน PVD ไว้ในกองทุนทั้งจำนวน

สมาชิก PVD ที่ยังพอมีเงินก้อนอื่นอยู่ ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน PVD ทันที สามารถคงเงินไว้ใน PVD ทั้งจำนวน แล้วรอให้ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะปกติหรือปรับตัวดีขึ้น ค่อยมาขอรับเงินที่คงไว้ออกไป โดยเงินที่คงไว้ใน PVD ยังถูกนำไปลงทุนอย่างต่อเนื่องโดยทีมผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุน

ซึ่งรายได้จากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ย เงินปันผล และกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษี ต่างจากการที่เรานำเงินไปลงทุนเอง แค่ดอกเบี้ยเงินฝากต้องเสียภาษี 15% แล้ว

ทั้งนี้ สมาชิก PVD สามารถคงเงินได้ตามระยะเวลาที่กองทุนกำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน โดยมีค่าธรรมเนียมในการคงเงินปีละ 500 บาท

2. ทยอยรับเงิน PVD เป็นงวด

หากสมาชิกมีความจำเป็นต้องใช้เงิน PVD บางส่วนก่อน สามารถขอรับเงินก้อนแรกไปใช้ก่อนได้ แล้วค่อยทยอยรับเงิน PVD ส่วนที่เหลือเป็นงวดๆ คล้ายกับการรับบำนาญ โดยสามารถระบุจำนวนเงินที่ต้องการใช้ต่องวดตามที่ต้องการได้ ทั้งนี้ เงินที่เหลืออยู่ในกองทุนจะถูกนำไปลงทุนอย่างต่อเนื่อง และรายได้จากการลงทุนได้รับยกเว้นภาษีเช่นเดียวกัน

สมาชิก PVD ที่ขอรับเงินเป็นงวดมีค่าธรรมเนียมการรับเงินเป็นงวดครั้งแรก 500 บาท และค่าธรรมเนียมการรับเงินรายงวดๆ ละ 100 บาท โดยจำนวนเงินที่สมาชิกได้รับเข้าบัญชีในแต่ละงวดจะเป็นเงินที่หักค่าธรรมเนียมรายงวดและค่าธรรมเนียมการโอนเงินของธนาคารแล้ว

ทั้งนี้ สมาชิก PVD ที่ต้องการขอคงเงินหรือรับเงินเป็นงวด ให้แจ้งความประสงค์ผ่านนายจ้างหรือคณะกรรมการกองทุนล่วงหน้าก่อนวันที่จะเกษียณ เพื่อให้นายจ้างหรือคณะกรรมการกองทุนส่งหนังสือแจ้งความประสงค์การขอคงเงินหรือรับเงินเป็นงวดที่ลงนามโดยสมาชิก มาพร้อมกับเอกสารการแจ้งสิ้นสุดสมาชิกภาพ เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถทำรายการได้ตรงตามความประสงค์ของสมาชิก

กรณีที่ต้องการยกเลิกการคงเงินหรือรับเงินเป็นงวด
ให้สมาชิกแจ้งและนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้กับบริษัทจัดการตามเงื่อนไขที่บริษัทจัดการกำหนด จากนั้นบริษัทจัดการก็จะดำเนินการโอนเงิน PVD ที่เหลืออยู่ในกองทุนเข้าบัญชีธนาคารของสมาชิกตามที่ได้แจ้งไว้

ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้เงินก้อน PVD ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวนก็คือ การสิ้นสุดสมาชิกภาพด้วยเหตุออกจากงานเมื่อมีอายุตัวตั้งแต่ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 5 ปี (รวมระยะเวลาในการคงเงิน)

รู้แบบนี้แล้ว...สมาชิก PVD ที่กำลังจะเกษียณคงคลายความกังวลลงได้บ้าง เพราะมีทางเลือกที่ยังไม่ต้องนำเงินออกในวันที่หุ้นยังตกอยู่ ดังนั้น แค่เราวางแผนการเงินอย่างสมาร์ท เราก็จะมีชีวิตที่มั่นคงมั่งคั่งทั้งในปัจจุบัน แล้วก็มีความสุขทุกวันยันเกษียณเลยล่ะครับ

เพื่อนๆ สามารถติดตามสาระดีๆ และข้อมูลข่าวสารด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน การวางแผนเกษียณ ได้ที่ TISCO Smart Retirement 

#TISCOsmartretirement #สุขทุกวันยันเกษียณ #Smartretirement  #FreedombyTISCOPVD #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #กองทุนเลี้ยงชีพ #PVD

 Line Official : @TISCOASSET

 Youtube Channel : TISCO Fun(d) Station

 Facebook Fanpage : TISCO Asset Management