/
/
/
ผู้รับผลประโยชน์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับประกันต่างกันอย่างไร?

ผู้รับผลประโยชน์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับประกันต่างกันอย่างไร?

beneficiary

ผู้รับผลประโยชน์กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับประกันต่างกันอย่างไร?

ผู้รับผลประโยชน์ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) VS. ประกันชีวิต เหมือนหรือต่างยังไง?

วันนี้ เราจะมาเปรียบเทียบมุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับผลประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) และประกันชีวิต ซึ่งผู้รับผลประโยชน์เป็นผู้ที่จะได้รับเงิน PVD หรือ เงินประกัน ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน สมาชิก PVD หรือ ผู้เอาประกัน (ผู้ทำประกันชีวิต) เสียชีวิตและจากไปก่อนเวลาอันควร มาดูกันครับว่า PVD และประกันชีวิต มีมุมที่เหมือนและต่างกันยังไงบ้าง


ใครคือผู้รับผลประโยชน์?

“ผู้รับผลประโยชน์” ของ PVD เป็นใครก็ได้ กฎหมายไม่ได้จำกัดไว้ แต่ที่สำคัญ ต้องเป็นผู้ที่สมาชิก PVD กำหนดไว้โดยพินัยกรรมหรือทำเป็นหนังสือ และมอบไว้แก่บริษัทจัดการหรือกรรมการกองทุน

โดยเงิน PVD จะถูกส่งมอบให้กับ “ผู้รับผลประโยชน์” ตามที่สมาชิก PVD กำหนดไว้

“ผู้รับผลประโยชน์” ของประกันชีวิต เป็นใครก็ได้เช่นกัน ที่ผู้เอาประกันระบุไว้ในกรมธรรม์ กฎหมายไม่ได้ห้ามระบุบุคคลที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือทางกฎหมาย

แต่โดยทั่วไปบริษัทประกันมักจะให้ผู้เอาประกันระบุผู้รับผลประโยชน์ที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือทางกฎหมาย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการฆาตกรรมผู้เอาประกันเพื่อหวังเงินประกัน แต่หากมีการระบุบุคคลที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นผู้รับผลประโยชน์ อาจมีการตรวจสอบเพิ่มเติมจากบริษัทประกัน

อย่างไรก็ตาม หากผู้รับผลประโยชน์ฆ่าผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์ผู้นั้นจะไม่มีสิทธิได้รับเงินประกัน

ใครจะได้เงิน ถ้าไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ไว้?

กรณีที่สมาชิก PVD เสียชีวิตโดยที่ไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ไว้ เงิน PVD จะจ่ายให้แก่บุคคลที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังต่อไปนี้

1.  บุตร

ได้รับ 2 ส่วน (กรณีมีบุตรไม่เกิน 2 คน)

ได้รับ 3 ส่วน (กรณีมีบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป)

2.  สามี หรือภรรยา

ได้รับ 1 ส่วน

3.  บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดาที่ยังมีชีวิตอยู่

ได้รับ 1 ส่วน

กรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตโดยที่ไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ไว้ เงินที่ได้รับจากกรมธรรม์ประกันชีวิต จะกลายเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของผู้เอาประกันที่เสียชีวิต และตกเป็นของทายาทโดยธรรมต่อไป ทั้งนี้
ทายาทโดยธรรม มี 6 ลำดับชั้น ได้แก่

1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม

2. พ่อแม่

3. พี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกัน

4. พี่น้องต่างพ่อหรือต่างแม่

5. ปู่ ย่า ตา ยาย

6. ลุง ป้า น้า อา

เปลี่ยนแปลงชื่อผู้รับผลประโยชน์ได้มั้ย?

สมาชิก PVD สามารถเปลี่ยนแปลงชื่อผู้รับผลประโยชน์เมื่อไรก็ได้ โดยทำเป็นพินัยกรรมหรือทำเป็นหนังสือ และมอบไว้แก่บริษัทจัดการหรือกรรมการกองทุน

ทั้งนี้ สมาชิกควรทบทวนชื่อผู้รับผลประโยชน์ให้เป็นปัจจุบันเสมอ เพื่อให้เงิน PVD ส่งต่อไปถึงคนที่เรารัก และเป็นไปตามความประสงค์ของเราจริงๆ

ชื่อผู้รับผลประโยชน์ของกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่นเดียวกับผู้รับผลประโยชน์ของ PVD  แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่สำคัญ ก็คือ

1.   “ผู้เอาประกัน” ยังไม่ได้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันชีวิตให้กับ “ผู้รับผลประโยชน์” เดิม และ

2.   “ผู้รับผลประโยชน์” เดิม ยังไม่ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังบริษัทประกันว่าต้องการจะถือเอาผลประโยชน์จากกรมธรรม์นั้น

หากไม่สามารถทำตามเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อข้างต้นแล้ว ก็จะไม่สามารถเปลี่ยน “ผู้รับผลประโยชน์” ได้ แต่ถ้าเราต้องการเปลี่ยนผู้รับผลประโยชน์จริงๆ ก็ให้ทำการยกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิม และทำประกันชีวิตฉบับใหม่เพื่อระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์ที่เป็นปัจจุบันตามความที่เราต้องการได้ 

เห็นไหมครับว่า การระบุชื่อผู้รับผลประโยชน์นั้นสำคัญและจำเป็นมาก เพื่อให้เงิน PVD และเงินประกันตกถึงบุคคลที่เรารัก และเป็นไปตามความประสงค์ของเรา แล้วเราก็จะได้สบายใจว่าเราวางแผนไว้พร้อมทุกด้านแล้ว ทีนี้ เราก็จะได้มีความสุขทุกวันยันเกษียณเลยล่ะครับ

อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ TISCO Smart Retirement
Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก