/
/
/
การคำนวณภาษีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

การคำนวณภาษีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

การคำนวณภาษีเงิน PVD

การคำนวณภาษีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

/
/
/
การคำนวณภาษีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

การคำนวณภาษีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)

วิธีการคำนวณภาษีเงิน PVD


เงิน PVD นั้น ประกอบไปด้วยเงิน 4 ส่วน ตามนี้เลย

ส่วนของสมาชิก

ส่วนที่ 1 : เงินสะสม เป็นเงินที่หักจากค่าจ้างของสมาชิกและนำส่งเข้า PVD ทุกเดือน

ส่วนที่ 2 : ผลประโยชน์ของเงินสะสม เป็นส่วนที่งอกเงยจากการที่ผู้จัดการกองทุนนำเงินสะสมไปลงทุน

ส่วนของนายจ้าง

ส่วนที่ 3 : เงินสมทบ เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้า PVD ทุกเดือน พร้อมกับเงินสะสม

ส่วนที่ 4 : ผลประโยชน์ของเงินสมทบ เป็นส่วนที่งอกเงยจากการที่ผู้จัดการกองทุนนำเงินสมทบไปลงทุน

สำหรับเงินก้อน PVD ส่วนที่จะต้องนำไปรวมกันเพื่อเป็นฐานภาษี คือ เฉพาะส่วนที่ 2 – 4 เท่านั้น 

โดยในส่วนที่ 2 ผลประโยชน์ของเงินสะสม ซึ่งเป็นเงินส่วนของสมาชิกที่จะได้รับเต็มจำนวน ให้ใช้ยอดเต็มจำนวน แต่สำหรับส่วนที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นเงินส่วนของนายจ้างที่สมาชิกจะได้รับตามสิทธิ์ในอัตราร้อยละที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน ให้ใช้จำนวนเงินที่ได้รับตามสิทธิ์

สำหรับเงินก้อน PVD ส่วนที่จะต้องนำไปรวมกันเพื่อเป็นฐานภาษี คือ เฉพาะส่วนที่ 2 – 4 เท่านั้น 

โดยในส่วนที่ 2 ผลประโยชน์ของเงินสะสม ซึ่งเป็นเงินส่วนของสมาชิกที่จะได้รับเต็มจำนวน ให้ใช้ยอดเต็มจำนวน แต่สำหรับส่วนที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นเงินส่วนของนายจ้างที่สมาชิกจะได้รับตามสิทธิ์ในอัตราร้อยละที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน ให้ใช้จำนวนเงินที่ได้รับตามสิทธิ์

ทั้งนี้ ส่วนที่ 1 คือ เงินสะสมได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่เราได้ยื่นภาษีประจำปี และได้สิทธิลดหย่อนภาษีในแต่ละปีไปแล้ว

ตัวอย่าง สมาชิก PVD ลาออกจากงาน และมีเงิน PVD ตามข้อมูลด้านล่าง โดยสมาชิกมีสิทธิ์ได้รับเงินในส่วนของนายจ้างร้อยละ 50 ของเงินส่วนของนายจ้าง

ส่วนของสมาชิก

ส่วนที่ 1 : เงินสะสม 1,000,000

ส่วนที่ 2 : ผลประโยชน์ของเงินสะสม 100,000

ส่วนของนายจ้าง

ส่วนที่ 3 : เงินสมทบ 1,000,000

ส่วนที่ 4 : ผลประโยชน์ของเงินสมทบ 100,000 

ซึ่งจากกรณีตัวอย่างนี้

เงินก้อน PVD ที่จะนำไปใช้ในการคำนวณภาษี = 100% ของส่วนที่ 2 + 50% ของส่วนที่ 3 และ 4

= 100,000 + [50% x (1,000,000 + 100,000)]

= 100,000 + 550,000

= 650,000

ทีนี้ ก็มาถึงวิธีคำนวณภาษีของเงินก้อนที่ได้รับจาก PVD ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 : ลาออกจากงานโดยมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี หรือ ลาออกจากกองทุนโดยไม่ลาออกจากงาน

ถ้าใครได้รับเงิน PVD ตามกรณีนี้ ต้องนำเงินก้อน PVD (ส่วนที่ 2–4) ไปรวมกับเงินเดือน โบนัส และรายได้อื่นๆ ซึ่งก็ทำให้เงินได้พึงประเมินที่จะใช้ในการคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าของเราสูงขึ้น  ต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุดของฐานรายได้ของเราในปีนั้น

กรณีที่ 2 : ลาออกจากงานโดยมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

สำหรับสมาชิก PVD ที่ลาออกจากงาน และมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะได้สิทธิลดหย่อนภาษีแบบพิเศษ (เงินได้ครั้งเดียวที่ได้รับด้วยเหตุออกจากงาน) และสามารถใช้สิทธิแยกยื่นภาษี โดยไม่ต้องนำเงินก้อน PVD ไปรวมกับเงินได้ประจำปี ทำให้เสียภาษีในส่วนเงินกองทุน PVD น้อยลงไปเยอะเลยล่ะ

ยกตัวอย่าง สมาชิกอายุงาน 10 ปี เงินก้อน PVD ที่จะต้องนำไปเสียภาษี คำนวณดังนี้

        เงินที่ต้องนำไปเสียภาษี = [เงินก้อน PVD ที่ได้รับ – (7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน)] หาร 2

                                         = [650,000 – (7,000 x 10)] / 2

                                         = 290,000

จากนั้นนำเงิน 290,000 ไปคำนวณภาษีแบบแยกยื่น โดยคิดอัตราภาษีแบบก้าวหน้า ตั้งแต่ฐานภาษีแรก 5%

หมายเหตุ : กรณีสมาชิกมีเงินได้ครั้งเดียวที่ได้รับด้วยเหตุออกจากงานประเภทอื่น จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี และแยกยื่นภาษี เฉพาะเงินได้ที่ได้รับในปีภาษีแรกเท่านั้น

กรณีที่ 3 : ลาออกจากงานโดยอายุตัวครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และจำนวนปีที่เป็นสมาชิก PVD ไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน

สมาชิกที่ได้รับเงินก้อน PVD ภายใต้กรณีที่ 3 จะได้รับยกเว้นภาษีเงิน PVD ทั้งจำนวน

อย่างไรก็ตาม สำหรับสมาชิก PVD ที่ลาออกจากงานแล้วอายุตัวยังไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ และ/หรือ จำนวนปีเป็นสมาชิกน้อยกว่า 5 ปี แต่อยากได้รับการสิทธิ์ยกเว้นภาษี แนะนำให้คงเงินไว้ในกองทุนจนอายุตัวและจำนวนปีที่เป็นสมาชิกครบเงื่อนไงข้างต้น เพื่อที่จะได้รับการยกเว้นภาษีเช่นเดียวกัน

    ทั้งนี้ หลักการคำนวณภาษีเป็นหลักการคำนวณในเบื้องต้นเท่านั้น ดังนั้น หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องภาษีโดยละเอียด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมสรรพากร

การวางแผนภาษีได้ดี ถือเป็นการวางแผนการใช้ชีวิตแบบสมาร์ท ที่จะทำให้เราก็จะมีเงินออมเพิ่มขึ้น มีชีวิตที่มั่นคงมั่งคั่งในปัจจุบัน แล้วก็มีความสุขทุกวันยันเกษียณเลยล่ะครับ

 

เพื่อนๆ สามารถติดตามสาระดีๆ และข้อมูลข่าวสารด้านการวางแผนการเงินและการลงทุนได้ที่ TISCO Smart Retirement Facebook : TISCO คลิก https://goo.gl/HKbuw4 #TISCOsmartretirement #สุขทุกวันยันเกษียณ #Smartretirement #Smartsaving #FreedombyTISCOPVD #PVDmember #TAX

อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ TISCO Smart Retirement
Scroll to Top
บริการออนไลน์
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนรวม

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และนำเสนอโฆษณาที่เกี่ยวข้องและตรงกับความสนใจของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก