รายได้เท่านี้…ลงทุน PVD, RMF, SSF และ Thai ESG ประหยัดภาษีได้สูงสุดเท่าไหร่
รายได้เท่านี้...ลงทุน PVD, RMF, SSF และ Thai ESG ประหยัดภาษีได้เท่าไหร่

การออมและลงทุน นอกจากจะทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเรามีเงินเก็บก้อนโตแล้ว ยังช่วยประหยัดภาษีได้อีกเพียบเลยล่ะคร้าบ วันนี้ เราก็เลยจะพาเพื่อนๆ ไปคำนวณเงินภาษีที่จะประหยัดได้จากการลงทุนในกองทุนต่างๆ ซึ่งได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)

มาดูตัวอย่างกันว่า เราสามารถลงทุนในกองทุนต่างๆ แบบเน้นจัดเต็มเรื่องคุ้มภาษี จะช่วยเชฟภาษีได้มากแค่ไหนกันนะ โดยสมมติฐานของการคำนวณมีดังนี้

สมมติฐาน
1.   มีรายได้ (ค่าจ้าง) เป็นเงินได้ประเภทเดียว และรายได้ต่อปี คำนวณจากรายได้ (ค่าจ้าง) ต่อเดือน
2.   หักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
3.   หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาทต่อปี
4.   หักลดหย่อนประกันสังคมตามจริงสูงสุด 9,000 บาทต่อปี  


1. รายได้ 30,000 บาทต่อเดือน หรือ 360,000 บาทต่อปี

เงินลงทุนที่เน้นคุ้มภาษีเท่ากับ 41,000 บาท ประหยัดภาษี 2,050 บาท

2. รายได้ 50,000 บาทต่อเดือน หรือ 600,000 บาทต่อปี

เงินลงทุนที่เน้นคุ้มภาษีเท่ากับ 281,000 บาท ประหยัดภาษี 20,600 บาท

3. รายได้ 100,000 บาทต่อเดือน หรือ 1,200,000 บาทต่อปี

เงินลงทุนที่เน้นคุ้มภาษีเท่ากับ 600,000 บาท ประหยัดภาษี 102,150 บาท

4. รายได้ 200,000 บาทต่อเดือน หรือ 2,400,000 บาทต่อปี

เงินลงทุนที่เน้นคุ้มภาษีเท่ากับ 600,000 บาท ประหยัดภาษี 161,550 บาท

5. รายได้ต่อเดือน 300,000 บาท หรือ 3,600,000 บาทต่อปี

เงินลงทุนที่เน้นคุ้มภาษีเท่ากับ 600,000 บาท ประหยัดภาษี 180,000 บาท

เงื่อนไข : การลงทุน
(1)    PVD <= 15% ของค่าจ้าง*  ไม่เกิน 500,000 บาท
(2)    RMF <= 30% ของเงินได้พึงประเมิน** ไม่เกิน 500,000 บาท
(3)    SSF <= 30% ของเงินได้พึงประเมิน**  ไม่เกิน 200,000 บาท

ทั้งนี้ PVD + RMF + SSF + กองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ + ประกันบำนาญ รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

(4)    Thai ESG <= 30% ของเงินได้พึงประเมิน** ไม่เกิน 100,000 บาท

* ค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้เป็นค่าตอบแทนการทำงาน เช่น เงินเดือน แต่ไม่รวมโบนัสและค่าล่วงเวลา ** เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงินได้ที่ต้องเสียภาษีทุกประเภท

Tips เทคนิคการออม
1. การออมและลงทุนอย่างสม่ำเสมอและเต็มกำลังอย่างน้อย 10% - 30% ของรายได้ 
2. แบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหุ้นในประเทศต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว
3. เลือกลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงตามระดับการยอมรับความเสี่ยงของตนเองพร้อมเลือกลงทุนผ่านกองทุนที่ช่วยประหยัดภาษี 

เพื่อนๆ สามารถใช้งานเครื่องมือคำนวณตัวช่วยวางแผนลดหย่อนภาษีได้ที่ https://advisory.tiscoonline.com/?channel_group=wealth

เพื่อนๆ สามารถติดตามสาระดีๆ และข้อมูลข่าวสารด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน การวางแผนเกษียณ ได้ที่ TISCO Smart Retirement 

#TISCOsmartretirement #สุขทุกวันยันเกษียณ #Smartretirement  #FreedombyTISCOPVD #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #กองทุนเลี้ยงชีพ #PVD

 Line Official : @TISCOASSET

 Youtube Channel : TISCO Fun(d) Station

 Facebook Fanpage : TISCO Asset Management