ออเจ้า...รู้ฤาไม่ว่า พึงตระเตรียม“เงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ” จักได้มิขัดสนแลหนา
ออเจ้า...รู้ฤาไม่ว่าพึงตระเตรียม“เงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ” จักได้มิขัดสนแลหนา

ใครที่มีผู้สูงอายุอยู่ในบ้าน เคยเจอเหตุการณ์คล้ายๆ แบบนี้บ้างหรือเปล่า

ต้นๆ เพราะวันที่เราเกษียณ คือ วันที่ไม่มีเงินเดือนแล้ว แต่เราก็ยังมีค่าใช้จ่ายทุกวัน แถมค่าใช้จ่ายยังเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จากเงินเฟ้ออีกด้วย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มว่าอาจต้องอยู่คนเดียว หรือไม่มีลูกหลานมาดูแลหลังเกษียณ ต้องเตรียมตัววางแผนออมเงินอย่างรอบคอบ เพื่อที่จะได้มีเงินดูแลตัวเองหลังเกษียณแบบชิลล์ๆ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งถ้าเราไม่เตรียมพร้อมให้ดี อาจจะเจอกับเหตุการณ์ที่ว่า “เงินหมด แต่ยังมีชีวิตอยู่” ทำให้จำเป็นออกไปหางานทำ ทั้งที่สุขภาพไม่ค่อยจะไหวแล้ว วันนี้เราก็เลยจะพาเพื่อนๆ มาคำนวณ ”เงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณ” ซึ่งปัจจัยหลักที่ใช้ในการคำนวณถึงมีดังนี้


1. อายุขัย

ให้ลองประมาณอายุขัยของตัวเองคร่าวๆ จากอายุขัยของคนในครอบครัวของเรา และวิถีการใช้ชีวิตว่าเราดูแลตัวเองดีหรือเปล่า ตามหลักแล้ว ควรกำหนดให้ตัวเราอายุยืนเข้าไว้ เพื่อจะได้วางแผนเก็บเงินไว้ให้มากที่สุด ซึ่งอายุขัยเฉลี่ยของคนไทยที่พ้นวัยเกษียณแล้วปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 80 ปีสำหรับผู้ชาย และ 85 ปีสำหรับผู้หญิง*

*ที่มา : สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล

2. เงินเก็บ ณ ปัจจุบัน

ใครที่ “ออมก่อนใช้” มีวินัยทางการเงินที่ดีมาตลอด และใช้จ่ายเฉพาะสิ่งจำเป็น ก็จะมีเงินเก็บในปัจจุบันมากหน่อย ซึ่งเป็นตัวช่วยให้เงินที่เราต้องเก็บออมต่อเดือนน้อยกว่าคนที่ไม่มีเงินก้อนที่เก็บออมไว้เลย

3. เงินลงทุนต่อเดือน

เงินลงทุนต่อเดือน หมายถึงเงินที่เราออม/ลงทุนทุกประเภทในแต่ละเดือน  ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากประจำ เงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือกองทุนรวมอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งหากเราลงทุนในแต่ละเดือนมากขึ้น เราก็จะไปถึงเป้าหมายเพื่อการเกษียณได้เร็วขึ้น โดยอัตราการออม/ลงทุนขั้นต่ำควรอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10-20 ต่อเดือน

4. ค่าใช้จ่ายต่อเดือน

ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อเดือนขึ้นกับรูปแบบการใช้ชีวิต ใครใช้ชีวิตแบบพอเพียงก็จะมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนน้อยกว่าคนที่ใช้ชีวิตแบบพรีเมี่ยม นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณบางอย่างอาจลดลง เช่น ค่าเดินทาง ค่าปาร์ตี้สังสรรค์ เป็นต้น ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมคำนวณรวมค่าซ่อมแซมบ้าน และค่ารักษาพยาบาลที่จะเพิ่มขึ้นหลังเกษียณไว้ด้วย นอกจากนี้ ควรมีประกันสุขภาพไว้ให้พร้อม เงินที่เราเก็บทั้งชีวิตจะได้ไม่หมดไปกับค่ารักษาพยาบาล

5. ผลตอบแทนจากการลงทุน

สำหรับผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนนั้น ขึ้นกับทรัพย์สินที่เราลงทุน ซึ่งปกติการลงทุนในเงินฝาก หรือตราสารหนี้จะได้รับผลตอบแทนน้อย แนะนำให้แบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงบ้าง เช่น หุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้ ต้องขึ้นกับระดับการยอมรับความเสี่ยงของแต่ละคนด้วย

ถ้าเตรียมข้อมูลปัจจัยข้างต้นพร้อมแล้ว ไปคำนวณเงินที่ต้องมี ณ วันเกษียณกันได้เลยที่ https://pvd.tiscoasset.com/retirement ถ้าเพื่อนๆ อยากมีชีวิตที่มั่งคั่งมั่นคงในปัจจุบันและสุขสบายหลังเกษียณ เพื่อนๆ ควรวางแผนออมและลงทุนแบบสมาร์ทอย่างเต็มกำลัง ซึ่งหากลงมือได้สำเร็จ เป้าหมายที่เพื่อนๆ ตั้งใจไว้อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมอย่างแน่นอนครับ


เพื่อนๆ สามารถติดตามสาระดีๆ และข้อมูลข่าวสารด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน การวางแผนเกษียณ ได้ที่ TISCO Smart Retirement 
#TISCOsmartretirement #สุขทุกวันยันเกษียณ #Smartretirement  #FreedombyTISCOPVD #กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ #กองทุนเลี้ยงชีพ #PVD

 Line Official : @TISCOASSET

 Youtube Channel : TISCO Fun(d) Station

 Facebook Fanpage : TISCO Asset Management