จัดการหนี้ได้ดี มีชัยไปกว่าครึ่่ง
จัดการหนี้ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
จากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาเช่นในปัจจุบัน ทำให้หลายๆ คนมีรายได้ลดลง จากคนที่เคยบริหารจัดการหนี้ได้ดีมาโดยตลอด ไม่เคยจ่ายค่างวดช้า ก็เริ่มจะมีปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลังและเริ่มกังวลว่าเราจะสามารถจัดการภาระหนี้สินที่มีอยู่ได้อย่างไร วันนี้ เราเลยจะมาแนะนำวิธีจัดการหนี้ที่ถูกวิธีอย่างเป็นระบบกันครับ

ขั้นตอนที่ 1

อันดับแรกให้สำรวจก่อนเลยว่า เรามีหนี้ประเภทไหน อย่างละเท่าไหร่ โดยให้ไปเอาใบแจ้งหนี้เดือนล่าสุดมาดู แล้วก็ให้ใส่ในตารางสำรวจภาระ โดยในตารางจะต้องระบุยอดหนี้ที่คงเหลือ อัตราดอกเบี้ยต่อปี ยอดเงินที่ต้องชำระ รวมถึงจำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ ที่สำคัญต้องไม่ลืมใส่ยอดหนี้นอกระบบไว้ด้วย โดยให้เรียงลำดับหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงที่สุดไปจนถึงต่ำสุด ทีนี้เราก็จะเห็นภาพรวมของหนี้ทั้งหมดที่เรามีเพื่อจะได้เตรียมวางแผนจัดการกันต่อไป

ขั้นตอนที่ 1

อันดับแรกให้สำรวจก่อนเลยว่า เรามีหนี้ประเภทไหน อย่างละเท่าไหร่ โดยให้ไปเอาใบแจ้งหนี้เดือนล่าสุดมาดู แล้วก็ให้ใส่ในตารางสำรวจภาระ โดยในตารางจะต้องระบุยอดหนี้ที่คงเหลือ อัตราดอกเบี้ยต่อปี ยอดเงินที่ต้องชำระ รวมถึงจำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ ที่สำคัญต้องไม่ลืมใส่ยอดหนี้นอกระบบไว้ด้วย โดยให้เรียงลำดับหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงที่สุดไปจนถึงต่ำสุด ทีนี้เราก็จะเห็นภาพรวมของหนี้ทั้งหมดที่เรามีเพื่อจะได้เตรียมวางแผนจัดการกันต่อไป

ขั้นตอนที่ 1

อันดับแรกให้สำรวจก่อนเลยว่า เรามีหนี้ประเภทไหน อย่างละเท่าไหร่ โดยให้ไปเอาใบแจ้งหนี้เดือนล่าสุดมาดู แล้วก็ให้ใส่ในตารางสำรวจภาระ โดยในตารางจะต้องระบุยอดหนี้ที่คงเหลือ อัตราดอกเบี้ยต่อปี ยอดเงินที่ต้องชำระ รวมถึงจำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ ที่สำคัญต้องไม่ลืมใส่ยอดหนี้นอกระบบไว้ด้วย โดยให้เรียงลำดับหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงที่สุดไปจนถึงต่ำสุด ทีนี้เราก็จะเห็นภาพรวมของหนี้ทั้งหมดที่เรามีเพื่อจะได้เตรียมวางแผนจัดการกันต่อไป

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและจัดประเภทหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด

อันดับแรกให้สำรวจก่อนเลยว่า เรามีหนี้ประเภทไหน อย่างละเท่าไหร่ โดยให้ไปเอาใบแจ้งหนี้เดือนล่าสุดมาดู แล้วก็ให้ใส่ในตารางสำรวจภาระ โดยในตารางจะต้องระบุยอดหนี้ที่คงเหลือ อัตราดอกเบี้ยต่อปี ยอดเงินที่ต้องชำระ รวมถึงจำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ ที่สำคัญต้องไม่ลืมใส่ยอดหนี้นอกระบบไว้ด้วย โดยให้เรียงลำดับหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงที่สุดไปจนถึงต่ำสุด ทีนี้เราก็จะเห็นภาพรวมของหนี้ทั้งหมดที่เรามีเพื่อจะได้เตรียมวางแผนจัดการกันต่อไป

 

ขั้นตอนที่ 2 เช็ครายรับ-รายจ่ายประจำเดือน

จากนั้นก็ให้ทำตารางสรุปรายรับ-รายจ่ายประจำเดือนที่เป็นปัจจุบัน

รายรับ    :   รายได้ทั้งหมดจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน รายได้จากการทำงานพิเศษ ดอกเบี้ยเงินฝาก รายได้จากการลงทุน รายรับจากค่าเช่าบ้าน

รายจ่าย  :   รายจ่ายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นรายจ่ายประจำ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ และหนี้สินที่ต้องชำระต่อเดือน เช่น ค่างวดผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เป็นต้น

 

หากพบว่ารายรับมากกว่ารายจ่าย ก็ยังพออุ่นใจว่าได้บ้างว่าเรายังมีกำลังในการชำระหนี้ แต่ก็ต้องไม่ลืมที่จะใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ถ้าพบว่ารายจ่ายมากกว่ารายรับ เราต้องเริ่มทำการปรับลดค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ไม่จำเป็นลงทันทีเพื่อให้มีเงินเพิ่มมาชำระหนี้ แต่ถ้าลดรายจ่ายอย่างเต็มที่แล้วก็ยังมีเงินไม่พอจ่ายหนี้ ก็ให้หาวิธีเพิ่มรายได้ และท้ายที่สุด ให้ดูว่าเรามีทรัพย์สินอะไรที่สามารถถอนหรือนำมาขายในช่วงนี้ เช่น เงินฝาก สลากออมสิน ทองคำ รถยนต์ เป็นต้น โดยให้ทำเป็นตารางสรุปเพื่อดูว่าสินทรัพย์ก้อนไหนเหมาะสมที่สุดหรือพูดง่ายๆ ว่าเสียหายน้อยที่สุดมาจ่ายชำระหนี้ให้ตรงเวลานั่นเอง

 

ขั้นตอนที่ 3 จัดลำดับการชำระหนี้

จากตารางหนี้สินในขั้นตอนที่ 1 และตารางรายรับ-รายจ่ายในขั้นตอนที่ 2 ให้เราทำตารางจัดอันดับในการชำระหนี้ดังนี้

1.  จ่ายหนี้นอกระบบเป็นอันดับแรก

หากมีหนี้นอกระบบ ให้หาทางจ่ายคืนหนี้นอกระบบเป็นอันดับแรกและให้เร็วที่สุด เพราะยอดหนี้นอกระบบนั้นสามารถเพิ่มเป็น 2 เท่าได้ภายในเวลา 4-5 เดือนเนื่องจากมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ดังนั้น ต้องระวังให้ดีเพราะเงินกู้ของเราอาจจะเพิ่มจากหลักหมื่นเป็นหลักแสน หรือหลักแสนเป็นหลักล้านโดยที่เราไม่ทันตั้งตัว

2. จ่ายหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน

เวลาจะเคลียร์หนี้ ให้เลือกจ่ายคืนเงินต้นหนี้ที่คิดดอกเบี้ยสูงให้หมดก่อน แล้วจึงค่อยทยอยจ่ายเงินต้นหนี้ที่คิดดอกเบี้ยต่ำเพราะจะช่วยให้เราจ่ายหนี้น้อยลง ลองมาพิสูจน์กันดีกว่าว่าเคลียร์หนี้ดอกเบี้ยต่ำหรือหนี้ดอกเบี้ยสูง อันไหนทำให้เรามีภาระจ่ายหนี้น้อยกว่ากัน

ตัวอย่าง เรากู้เงินมา 2 ก้อนๆ ละ 10,000 บาท ก้อนที่ 1 และก้อนที่ 2 คิดดอกเบี้ย 5% และ 10% ต่อปีตามลำดับ

วิธีแรก จ่ายเงินต้นดอกเบี้ยต่ำที่ 5% ให้หมดก่อน

สิ้นปีที่ 1

จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ก้อนที่ 2 อัตราดอกเบี้ย 10%           = 1,000 บาทและ

จ่ายคืนเงินต้นก้อนที่ 1 ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยที่ 5%             = 10,500 บาท

สิ้นปีที่ 2

จ่ายคืนเงินต้นก้อนที่ 2 ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย 10%             = 11,000 บาท

รวมเงินที่จ่ายคืนทั้งหมด 1,000 + 10,500 + 11,000     = 22,500 บาท

วิธีที่ 2 – จ่ายเงินต้นดอกเบี้ยสูงที่ 10% ให้หมดก่อน

สิ้นปีที่ 1

จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ก้อนที่ 1 อัตราดอกเบี้ย 5%             = 500 บาทและ

จ่ายคืนเงินต้นก้อนที่ 2 ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยที่ 10%           = 11,000 บาท

สิ้นปีที่ 2

จ่ายคืนเงินต้นก้อนที่ 2 ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย 5%               = 10,500 บาท

รวมเงินที่จ่ายคืนทั้งหมด 500 + 11,000 + 10,500        = 22,000 บาท

ดังนั้น สรุปว่าวิธีที่ 2 จ่ายเงินต้นดอกเบี้ยสูงให้หมดก่อนทำให้เราจ่ายคืนหนี้น้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม หากเรามีหนี้ก้อนเล็กๆ ที่มีดอกเบี้ยต่ำ เราอาจทำการชำระหนี้ดังกล่าวก่อนหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงก็ได้ เพื่อลดจำนวนก้อนหนี้สินที่มีอยู่และช่วยสร้างกำลังใจให้กับตัวเราเองว่าเราสามารถปิดหนี้บางก้อนได้สำเร็จแล้วนั่นเอง

นอกจากนี้ หากเราพยายามพึ่งตัวเองอย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นการลดรายจ่าย หารายได้เพิ่ม เอาทรัพย์สินออกมาขาย แต่ก็ยังพบว่าเงินที่ได้มายังไม่พอที่จะชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา ให้ลองติดต่อขอเจรจาต่อรองเรื่องการชำระหนี้กับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ซึ่งสถาบันการเงินอาจจะพิจารณาช่วยเหลือลูกหนี้ในหลายรูปแบบ เช่น การรีไฟแนนซ์ ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น

มาถึงตอนนี้ เราก็ได้เรียนรู้วิธีบริหารจัดการหนี้แล้ว หากเรานำไปใช้จริงในชีวิตของเรา มั่นใจได้เลยว่าชีวิตของเราจะมีแต่หนี้ที่ดีและปลอดจากภาระหนี้ในที่สุด แล้วทีนี้เราก็จะได้มีความสุขทุกวันยันเกษียณเลยล่ะค่ะ

 

เพื่อนๆ สามารถติดตามสาระดีๆ และข้อมูลข่าวสารด้านการวางแผนการเงินและการลงทุนได้ที่ TISCO Smart Retirement Facebook : TISCO   Line@ : @tiscoasset

#TISCOsmartretirement #สุขทุกวันยันเกษียณ #Smartretirement  #Smartspending